หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำนำ: ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง

คำนำ: ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง

 


http://www.sameskybooks.net

หนังสือ ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง รวมบทความว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ของ ธงชัย วินิจจะกูล ที่เขียนขึ้นระหว่างปี 2547 – 2555 ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ธงชัยได้คลี่ให้เห็น เค้าโครงประวัติศาสตร์ประชา – ธิปไตยไทย แบบเป็นกระแสซ้อนกัน โดยดูจากประวัติศาสตร์ ในช่วงยาว ซึ่งเริ่มจากการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงประชาธิปไตย แบบอำมาตย์ท่ามกลางวิกฤตการเมืองเหลือง – แดงที่ยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ในสายธารประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอันยาวนาน ธงชัยวิเคราะห์ให้เราเห็นการต่อสู้ต่อรองของผู้เล่นมากหน้าหลายตา ทั้งการปะทะกันระหว่างสถาบันกษัตริย์และฝ่ายนิยมเจ้า กับคณะราษฎรและผู้เอาใจช่วยระบอบใหม่ที่มีจุดยืนร่วมกันว่า“อำนาจสูงสุดนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย” เพื่อกำหนดสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ การปะทะกันระหว่างกองทัพกับฝ่ายเสรีนิยมที่จบลงด้วยชัยชนะอย่างไม่กระโตก กระตากของสถาบันกษัตริย์ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองและกลุ่มทุน กับขบวนการพลเมืองซึ่งหันไปเป็นพันธมิตรกับฝ่ายนิยมเจ้า

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้เล่นที่ธงชัยวิเคราะห์แจกแจงบทบาทไว้อย่างละเอียดและลุ่มลึกที่สุดก็คือ สถาบันกษัตริย์ที่คนส่วนใหญ่มองว่ามีสถานะ “เหนือการเมือง”

กล่าวได้ว่า การวิเคราะห์วิพากษ์บทบาทสถาบันกษัตริย์ของธงชัยเป็นเสียงเตือนที่มาก่อนกาล ดังจะเห็นได้จากภาค 1 “ประชาธิปไตยแบบไทย” ซึ่งทั้งหมดเขียนขึ้นก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ธงชัยชี้ให้เห็นว่า สถานะเหนือการเมืองของสถาบันกษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งในระบบการเมืองไทย และกำลังได้รับความเชื่อถือสูงยิ่งขึ้นเมื่อความไว้วางใจต่อรัฐสภาลดต่ำลงธง ชัยเตือนหนักๆ  ตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่า ความพยายามต่อสู้กับรัฐบาลบ้าอำนาจด้วยวาทกรรมพระราชอำนาจเป็นเรื่องที่ อันตรายอย่างยิ่ง และยังแนะด้วยว่า จะข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลาที่สถาบันกษัตริย์ได้ขึ้นมามีบทบาทนำมากขึ้นนั้นต้องมองให้ออกว่า ประชาธิปไตยไทยเป็นระบบการเมืองแบบสามเส้า ได้แก่ มวลชน ทุนกับนักการเมือง และฝ่ายกษัตริย์นิยม โดยมีสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือระบบการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49067

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น