หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การปล้นและยึดครองอเมริกาโดยสเปน

การปล้นและยึดครองอเมริกาโดยสเปน


อาณาจักรแอสเทค(Aztec) ค.ศ. 1325–ค.ศ. 1521

โดย C. H.

ชาวยุโรปที่เห็นเมืองของอารยะธรรม แอสเทค (ในเมคซิโกปัจจุบัน) และของอารยะธรรม อิงคา (ในเปรูปัจจุบัน) ราวๆ ค.ศ. 1520-1530 จะต้องทึ่งในความเจริญร่ำรวยของสังคมแน่นอน เมือง เชนอชทิทแลน ของ แอสเทค เจริญพอๆ กับเมืองต่างๆ ในยุโรป และเมือง คุสโค ของพวกอิงคา ถึงแม้ว่าจะเล็กกว่า แต่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรใหญ่ที่มีถนนสมัยใหม่เชื่อมโยงระยะทาง 3000 ไมล์ ยาวกว่าถนนในยุโรปหรือในจีนในยุคเดียวกัน อารยะธธรมของชาวอเมริกากลางและใต้ อาศัยการพัฒนาระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มผลผลิตเกษตร
   
แต่ภายในไม่กี่เดือน สองอารยะธรรมอันยิ่งใหญ่นี้ ถูกรุกรานและทำลาย โดยกองทัพขนาดเล็กของโจรสามัญจากสเปน ผู้นำกองทัพโจรนี้คือ เฮร์แนน คอร์เทส ซึ่งรุกรานพวก แอสเทค และทางใต้ ฟรานซิสโก พิสาโร ก็ยึดอาณาจักร อิงคา พิสาโร เป็นคนไร้การศึกษาเขียนอ่านไม่ได้อีกด้วยกองทัพโจรของสเปน เริ่มเดินทางไปสู่ทวีปอเมริกาในปี ค.ศ. 1492 ภายใต้การนำของ คริสโตเฟอร์ คอลลัมบัส ซึ่งเป็นกับตันเดินเรือที่ ไปขอทุนจากสองกษัตริย์สเปน เพื่อบุกเบิกเส้นทางค้าขายกับจีน โดยหวังเดินเรือไปทางตะวันตก แทนที่จะไปทางตะวันออกผ่านอัฟริกาและอินเดีย แต่แทนที่จะถึงจีน คอลลัมบัส ไปขึ้นบกที่เกาะในทะเลคาริเบี้ยน

ในเวลาเพียงยี่สิบปี พวกกองทัพโจรจากสเปน สามารถบุกเข้าไปยึดและทำลายอาณาจักรแอสเทค และ อิงคา ได้ และสามารถขโมยเงิน และทองคำ เพื่อส่งกลับไปสเปนในจำนวนมากวิธีเอาชนะของพวกโจรสเปนคือด้วยการโกหก หลอกผู้นำพื้นเมือง และการฉวยโอกาสอาศัยความขัดแย้งระหว่างผู้นำเหล่านั้นด้วย มีการแพร่เชื้อโรคใหม่ๆ จากยุโรปโดยไม่ได้เจตนา ซึ่งทำให้คนพื้นเมืองล้มตายจำนวนมาก นอกจากนี้อาวุธของทหารสเปนเป็นอาวุธเหล็ก มีเกราะเหล็ก และมีปืนพื้นฐาน ในขณะที่แอสเทค กับ อิงคา มีแต่ปลายดาบและหอกที่ทำจากหิน นอกจากนี้สภาพสังคม แอสเทค และ อิงคา กำลังถึงจุดวิกฤตเพราะวิถีชีวิตของชนชั้นปกครอง ที่อาศัยการขูดรีดคนข้างล่างอย่างป่าเถื่อน เริ่มเปลืองทรัพยากรจนระบบการผลิตที่หยุดพัฒนา เริ่มรองรับไม่ได้  

ผลของการยึดอเมริกาโดยสเปน คือคนพื้นเมืองล้มตายไปเกือบ 75% และที่รอดชีวิตมาได้ก็ถูกใช้เป็นแรงงานทาส เพื่อขุดเงินและโลหะมีค่าส่งกลับไปที่ยุโรป 


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/10/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น