หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การกด Like เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

การกด Like เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

 


 
โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

เมื่อวันพุธที่ 18 กันยายน 2556 ที่ผ่านมาศาลสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินให้การกดปุ่ม “Like” (หรือ “ชอบ”ในเว็บภาษาไทย)บนเฟซบุ๊กถือเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยศาลอุทธรณ์ของรัฐเวอร์จิเนียที่เมืองริชมอนด์ได้มีคำพิพากษาคดีที่เจ้า หน้าที่ของสำนักงานตำรวจ(Sheriff)ร้องต่อศาลว่าเขาถูกไล่ออกเนื่องจากการใช้ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งในกรณีนี้ก็คือการกด “Like”เพจเฟซบุ๊กของคู่แข่งทางการเมืองของหัวหน้าของตนเอง

คำพิพากษาจำนวน 81 หน้าระบุว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้นี้ถือเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง โดยการกด “Like” เพจหาเสียงของผู้สมัครทางการเมืองนั้น แสดงถึงการที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กยอมรับผู้สมัครนั้นและสนับสนุนการหาเสียงครั้ง นี้โดยการเข้าไปมีส่วนร่วม ในกรณีนี้จึงถือเป็นการแสดงออกทางการเมืองผ่านทางอินเตอร์เน็ต

นอกจากนั้นคำพิพากษายังระบุว่าการกระทำของเขามีลักษณะเช่นเดียวกับการ แสดงออกโดยคำพูด ซึ่งการกด “Like”เพจหาเสียงของนักการเมืองสามารถสื่อออกมาได้ถึงการรับรองตัวบุคคลทาง การเมืองดังกล่าวของผู้ใช้และสนับสนุนการหาเสียงด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมกับ เพจ สิ่งนี้คือการแสดงออกที่เทียบเท่ากับการติดป้ายทางการเมืองไว้ที่สวนหน้า บ้าน ซึ่งศาลเห็นว่าเป็นการแสดงออกอย่างอิสระเสรี

จากคำพิพากษาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการกด “Like”บนเฟซบุ๊กนั้นเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจนเพราะเป็นการแสดงความ คิดเห็นด้วยสัญลักษณ์ทำนองเดียวกับการพูดและการเขียนซึ่งได้รับการคุ้มครอง จากรัฐธรรมนูญทั้งของสหรัฐอเมริกาและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแม้ว่าจะ ไม่ได้ใช้ถ้อยคำตรงกันทุกประการก็ตาม

ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ส่วนที่ ๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน และ ส่วนที่ ๘ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการศึกษา ตั้งแต่มาตรา ๔๕ จนถึง มาตรา ๕๐ ได้บัญญัติไว้ชัดเจน อาทิ

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49047


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น