เราต้องโทษใครที่ประชาธิปไตยไทยไม่คืบหน้า? กษัตริย์ภูมิพลหรือชนชั้นกลางไทย?
พอล แฮนลี่ ในบทความล่าสุด ลงวารสาร Foreign Policy วันที่ ๖ ธันวาคม
http://www.foreignpolicy.com/articles/2013/12/06/thailand_dysfunctional_democracy_king_bhumibo
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
ตั้ง
คำถามว่า “ทำไมประชาธิปไตยไทยถึงชำรุดอย่างนี้?”
เขาตอบทันทีว่า“ต้องโทษกษัตริย์ภูมิพล” ต่อจากนั้นเขาอธิบายว่า
“วิกฤตการเมืองไทยสะท้อนการที่กษัตริย์ภูมพลละเลยที่จะสร้างระบบประชาธิปไตย
ที่แข็งแกร่งก่อนที่เขาจะจากโลกไป...” “ในทุกก้าว ในทุกวิกฤต
กษัตริย์ภูมิพลพึ่งกองทัพเพื่อปราบนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
และยับยั้งการพัฒนาของประชาธิปไตย”
ผม
อ่านแล้วสองจิตสองใจ
ในแง่หนึ่งอุ่นใจเมื่อเห็นคนวิจารณ์เผด็จการและนายภูมิพลอย่างตรงไปตรงมา
แต่ในอีกด้าน ซึ่งสำคัญกว่า พอล แฮนลี่ วิเคราะห์ผิด
เหมือนที่เคยวิเคราะห์ในหนังสือ “กษัตริย์ไม่เคยยิ้ม” เพราะจริงๆ
แล้วนายภูมิพลเป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ ไร้ความกล้าหาญ และไม่มีอุดมการณ์ดีๆ
ของตนเองเลย ตลอดชีวิตของเขา
เขามีส่วนสำคัญในการร่วมมือกับเผด็จการที่ทำให้สังคมไทยล้าหลังและขาด
ประชาธิปไตยจนถึงทุกวันนี้ แต่นายภูมิพลถูกทหารและนายทุนใหญ่ใช้มาตลอด
เพราะสถาบันกษัตริย์ให้ความชอบธรรมกับทุกอย่างที่ทหารเลือกทำ
และให้ความชอบธรรมกับระบบความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วยนิยายเรื่อง “เทวดา”
เรา
คงหวังอะไรมากไม่ได้จากทหารและนายทุนใหญ่
สันดานพวกนี้คือการใช้อำนาจเผด็จการ
แต่เราสามารถโทษคนกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทในการเปิดประตูให้เผด็จการได้
นั้นคือชนชั้นกลางไทย
ตั้งแต่
พวกชนชั้นกลางไทยไปจับมือกับนายทุนหัวเก่าและทหาร
เพราะไม่พอใจที่รัฐบาลไทยรักไทยสร้างระบบรักษาสุขภาพถ้วนหน้า
และกองทุนหมู่บ้าน และไม่ยอมให้นักการเมืองเก่าๆ
ชนะการเลือกตั้งโดยซื้อเสียงเพราะไม่มีนโยบาย
ชนชั้นกลางได้ปูทางไปสู่เผด็จการ
การ
กล่าวถึง “เผด็จการรัฐสภา” ในสมัยที่ไทยรักไทยชนะเสียงข้างมาก
เป็นการเริ่มต้นในแวดวงนักวิชาการที่เป็นคนชั้นกลาง
พวกนี้โกหกว่าการมีเสียงข้างมากในรัฐสภา
ซึ่งเป็นเรื่องปกติในประชาธิปไตยตะวันตก เป็นเรื่อง “แย่”
มีการโกหกกันจนถึงทุกวันนี้ โดยพวกหัวเผด็จการชนชั้นกลางเหล่านี้
ว่าเขากำลังปกป้อง “เสียงข้างน้อย” ในสังคม
แต่เขาไม่เคยปกป้องเสียงเรียกร้องของคนชนเผ่า คนมาเลย์มุสลิม คนงานข้ามชาติ
คนรักเพศเดียวกัน คนไม่มีศาสนา คนไม่รักกษัตริย์
หรือคนที่จนที่สุดในสังคมแต่อย่างใด
ยิ่งกว่านั้นเวลาทหารกับอภิสิทธิ์ชนใช้กษัตริย์เพื่อกระทำความเลว
เช่นรัฐประหาร หรือการเข่นฆ่าคนส่วนใหญ่ พวกนี้ไม่เคยสนใจ
เพราะเชิดชูเสียงข้างน้อยที่เป็นอภิสิทธิ์ชนเท่านั้น
พวก
ชนชั้นกลางเกลียดระบบประชาธิปไตย
และให้ความชอบธรรมกับรสนิยมทางการเมืองของเขา
ด้วยการดูถูกคนส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคของทักษิณว่า “โง่” บ้าง “ขาดการศึกษา”
บ้าง หรือ “เข้าไม่ถึงข้อมูล” บ้าง
ในขณะเดียวกันชนชั้นกลางคลั่งกษัตริย์จนเชื่อว่าเทวดาบินได้
และแม้กระทั่งหมาเลี้ยงของเขามีความ “ศักดิ์สิทธิ์”
ใน
การทำลายระบบรัฐสภาประชาธิปไตยของชนชั้นกลาง เขาเสนอรูปแบบ
“เผด็จการทางเลือก”หลายชนิด เช่นข้อเสนอเรื่อง “สภาอภิสิทธิ์ชน” ของสุเทพ
หรือการที่ “ต้อง” มีสว. ที่พวกมันแต่งตั้ง เพื่อ “คาน” อำนาจประชาชน
หรือการพูดถึง “ประชาธิปไตยทางตรง” ของพวก เอ็นจีโอ ชนชั้นกลาง
ซึ่งเป็นการบิดเบือนความหมายต้นตำหรับของแนวอานาธิปไตยที่เคยเสนอความคิดนี้
แต่แรก มันบิดเบือนเพราะ เอ็นจีโอ
จำนวนมากไปน้อมรับอำนาจกองทัพและรัฐเผด็จการ
ใน
ทางเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการชนชั้นกลางที่เริ่มใช้คำว่า “ระบบทักษิณ”
ก็มีส่วนสำคัญในการปูทางไปสู่เผด็จการ เพราะในทางนโยบายเศรษฐศาสตร์
รัฐบาลทักษิณใช้นโยบาย “คู่ขนาน”
คือผสมแนวเคนส์ที่อาศัยงบประมาณรัฐในการเพิ่มระดับชีวิตประชาชน
บวกกับแนวเสรีนิยมกลไกตลาดในระดับโลก มันไม่ใช่นโยบายพิเศษของคนบ้าอำนาจ
อย่างที่พวกนั้นเสนอแต่อย่างใด
ใน
ทางสิทธิเสรีภาพ ชนชั้นกลางไทยเพิกเฉยต่อการทำลายสิทธิมนุษยชน
โดยรัฐบาลทักษิณ
และรัฐบาลทหารกับรัฐบาลเผด็จการของอภิสิทธิ์มาอย่างต่อเนื่อง
ไม่มีการออกมาประท้วงเป็นแสนในเรื่อง กฏหมาย 112 การเข่นฆ่าชาวมาเลย์มุสลิม
การเข่นฆ่าคนจนในสงครามยาเสพติด
หรือการเข่นฆ่าคนเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย
และคณะกกรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็เป็นเพียงเด็กรับใช้ของเผด็จการ
ทั้ง
หมดนี้คือบาปอันใหญ่หลวงของชนชั้นกลางไทยในวิกฤตปัจจุบัน
ซึ่งไม่นับเรื่องการเชียร์การเข่นฆ่านักศึกษาและฝ่ายซ้ายในวันที่ ๖ ตุลาคม
๒๕๑๙
แต่
การวิเคราะห์นี้จะไม่ครบ
ถ้าไม่กล่าวถึงความอ่อนแอทางการเมืองของกรรมาชีพและเกษตกร
ซึ่งมีมาตั้งแต่การล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์
มันถึงเวลานานแล้วที่คนส่วนใหญ่ที่เป็นกรรมาชีพคนทำงานและเกษตรกร
จะต้องมีพรรคของชนชั้นตนเอง ในยุโรปประชาธิปไตยไม่เคยเกิดจากคนชั้นกลาง
คนชั้นกลางยุโรปสนับสนุนฮิตเลอร์และพวกฟาสซิสต์ต่างหาก
ขบวนการที่สร้างพื้นที่ประชาธิปไตยอย่างจริงจังในยุโรปคือขบวนการแรงงานและ
พรรคการเมืองของเขา และถ้าเรามีองค์กรทางการเมืองของคนระดับล่าง
แทนที่จะมีแต่พรรคเพื่อไทยของนายทุนใหญ่
เราจะต่อสู้เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยได้
แทนที่จะนั่งแบบมือไม้อ่อนแค่ดูพรรคเพื่อไทยประนีประนอมกับมารเผด็จการ
รอบนี้หลังจากการตั้งม็อบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสุเทพ
และการลาออกจากสภาของประชาธิปัตย์
แนวโน้มเรื่องจะไม่จบลงด้วยการขยายพื้นที่ประชาธิปไตยแต่อย่างใด
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น