“ศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน” คืออีกหนึ่งองค์กรที่ต้อง “ปฏิรูป”
“ศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน” คืออีกหนึ่งองค์กรที่ต้อง “ปฏิรูป”
ปัญหาความบกพร่องและความชอบธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ
1.ศาลรธน.เป็นองค์กรที่ถูกรธน.สร้างขึ้นเพื่อให้ใช้อำนาจที่รธน.มอบให้ เพื่อทำหน้าที่รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรธน. แต่ศาลรธน.ได้ใช้อำนาจหน้าที่นั้นไปในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบรธน.และหลักการนิติรัฐประชาธิปไตย จนมีผลเป็นการทำลายวัตถุประสงค์และภารกิจดังกล่าวเสียเอง
2.การใช้อำนาจซึ่งมีผลเป็นการเพิ่มถ้อยคำที่ไม่ปรากฏในรธน.(การวินิจฉัยว่าตาม รธน.ม.291 ไม่สามารถแก้ไขรธน.ทั้งฉบับได้) สร้างความเคลือบแคลงสงสัยแก่สาธารณชนว่าเข้าเป็นฝ่ายทางการเมืองเพื่อทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง(คดียุบพรรคและการแสดงความเห็นส่วนบุคคลในคดีต่างๆต่อสาธารณะ) และการตีความรธน.ที่ส่งผลประหลาดและผิดพลาดอย่างแจ้งชัด(การรับคำร้องตาม รธน.ม.68 โดยตรง)
3.การใช้อำนาจที่มีผลเป็นการยับยั้งการแก้ไขเพิ่มเติมรธน.ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ตามรธน.ของรัฐสภา ทั้งที่ไม่มีบทบัญญัติในรธน.ให้อำนาจศาลรธน.เข้าแทรกแซงหรือวินิจฉัยกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรธน.ได้ไม่ว่าจะในขั้นตอนใด
4.ใช้อำนาจที่มีผลขยายเขตอำนาจของตนเกินกว่าที่รธน.บัญญัติไว้จนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรธน.และอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลงอย่างสิ้นเชิง
5.การได้มาซึ่งตุลาการศาลรธน.ยังขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เพราะมาจากการคัดเลือกกันเองในศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด และการสรรหา จึงไม่ยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย อันเป็นลักษณะสำคัญของตุลาการศาลรธน.ในประเทศเสรีประชาธิปไตย
( โปรดอ่าน "วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ยุบศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ”http://prachatai.com/journal/2012/07/41566)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น