หนังสือ 1984 ของ จอร์ช ออร์เวล กับสังคมไทย
ในเผด็จการ Ingsoc ท่านผู้นำหรือ “พี่ใหญ่” เป็นผู้ที่คิดค้นทุกอย่าง เก่งทุกอย่าง จะมีอายุยืนตลอดกาล เขารักและดูแลประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็คอยจ้องมองทุกคนเพื่อไม่ให้ก่อ “อาชญากรรมทางความคิด” ประชาชนต้องทั้งรักและกลัวเขา
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
จอร์ช ออร์เวล
เป็นนักเขียนสังคมนิยมอังกฤษ ในปี 1937 เขาอาสาไปรบในประเทศสเปน
เพื่อยับยั้งการยึดอำนาจของทหารฟาสซิสต์ภายใต้นายพลฟรังโก
ออร์เวลเข้าร่วมในกองทัพอาสาสมัครของพรรค POUM
(พรรคแนวร่วมกรรมาชีพมาร์คซิสต์) พรรคนี้ร่วมกับองค์กรอนาธิปไตย CNT และ
FAI ในการปฏิวัติลุกฮือของกรรมาชีพและเกษตรกรสเปน
แต่ปรากฏว่าพรรค คอมมิวนิสต์สเปน ภายใต้อิทธิพลของ สตาลิน ในรัสเซีย พยายามสลายกระแสปฏิวัติเพื่อเอาใจอังกฤษกับฝรั่งเศส เพราะตะวันตกไม่ต้องการเห็นการปฏิวัติสังคมนิยมเกิดขึ้นในสเปน สตาลินมองว่าถ้าสามารถเอาใจมหาอำนาจตะวันตกได้ รัสเซียจะไม่ถูกโจมตี อย่างไรก็ตามการเอาใจตะวันตกแบบนี้นำไปสู่การเปลี่ยนสงครามปฏิวัติในสเปนไป สู่สงครามกระแสหลัก และนำไปสู่การทำลายความหวังของกรรมาชีพและเกษตรกรในการปลดแอกตนเอง ผลในที่สุดคือความพ่ายแพ้ของฝ่ายซ้ายและฝ่ายประชาธิปไตยสเปน
ประสบการณ์ของออร์เวลในสเปนถูกเขียนขึ้นหลังจากที่เขาหนีออกมาจากประเทศนั้นได้ ในหนังสือสำคัญของเขาชื่อ Homage To Catalonia (แด่คาทาโลเนีย) และเมื่อไม่นานมานี้ Ken Loach อาศัยหนังสือเล่มนี้ในการสร้างหนังชื่อ Land and Freedom
ออร์เวล เข้าใจดีเรื่องการหักหลังขบวนการปฏิวัติสากลโดยสตาลินและพรรคคอมมิวนิสต์ ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสตาลิน อีกกรณีสำคัญในยุคนั้นนอกจากสเปน คือการหักหลังคอมมิวนิสต์และกรรมาชีพจีน โดยการสั่งให้เข้าไปร่วมพรรคกับพวกชาตินิยมก๊กหมินตั๋ง ซึ่งทำให้เชียงไกเช็คกวาดล้างฆ่าคอมมิวนิสต์จำนวนมาก สองเหตุการณ์นี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจาก ลีออน ตรอทสกี ผู้ที่พยายามปกป้องแนวมาร์คซิสต์ และแนวบอลเชวิคจากการบิดเบือนของสตาลิน
ในหนังสือ Animal Farm (รัฐสัตว์) ออร์เวลประชดระบบเผด็จการของสตาลิน ที่อ้างว่าเป็นสังคมนิยมแต่สร้างความเหลื่อมล้ำและการกดขี่อย่างหนักในรัส เซีย ตัวละครที่เป็นสตาลินคือหมูชื่อ นโปเลียน และหมูอีกตัวที่ชื่อ สโนบอล์คือตรอทสกี
หนังสือ 1984 ซึ่งเขียนในปี 1949 เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ระบบเผด็จการสตาลินอย่างหนัก แต่ผสมระบบนาซี-ฟาสซิสต์เข้าไปในรัฐเผด็จการเดียวกัน 1984 เน้นเรื่องกระบวนการกล่อมเกลาล้างสมอง การตอแหลโกหก และการสร้างนิยายขึ้นมาครอบงำสังคมโดยเผด็จการ มันเป็นหนังสือที่วิจารณ์ทั้งฝ่ายรัสเซียและฝ่ายอเมริกาในยุคสงครามเย็น
แต่ปรากฏว่าพรรค คอมมิวนิสต์สเปน ภายใต้อิทธิพลของ สตาลิน ในรัสเซีย พยายามสลายกระแสปฏิวัติเพื่อเอาใจอังกฤษกับฝรั่งเศส เพราะตะวันตกไม่ต้องการเห็นการปฏิวัติสังคมนิยมเกิดขึ้นในสเปน สตาลินมองว่าถ้าสามารถเอาใจมหาอำนาจตะวันตกได้ รัสเซียจะไม่ถูกโจมตี อย่างไรก็ตามการเอาใจตะวันตกแบบนี้นำไปสู่การเปลี่ยนสงครามปฏิวัติในสเปนไป สู่สงครามกระแสหลัก และนำไปสู่การทำลายความหวังของกรรมาชีพและเกษตรกรในการปลดแอกตนเอง ผลในที่สุดคือความพ่ายแพ้ของฝ่ายซ้ายและฝ่ายประชาธิปไตยสเปน
ประสบการณ์ของออร์เวลในสเปนถูกเขียนขึ้นหลังจากที่เขาหนีออกมาจากประเทศนั้นได้ ในหนังสือสำคัญของเขาชื่อ Homage To Catalonia (แด่คาทาโลเนีย) และเมื่อไม่นานมานี้ Ken Loach อาศัยหนังสือเล่มนี้ในการสร้างหนังชื่อ Land and Freedom
ออร์เวล เข้าใจดีเรื่องการหักหลังขบวนการปฏิวัติสากลโดยสตาลินและพรรคคอมมิวนิสต์ ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสตาลิน อีกกรณีสำคัญในยุคนั้นนอกจากสเปน คือการหักหลังคอมมิวนิสต์และกรรมาชีพจีน โดยการสั่งให้เข้าไปร่วมพรรคกับพวกชาตินิยมก๊กหมินตั๋ง ซึ่งทำให้เชียงไกเช็คกวาดล้างฆ่าคอมมิวนิสต์จำนวนมาก สองเหตุการณ์นี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจาก ลีออน ตรอทสกี ผู้ที่พยายามปกป้องแนวมาร์คซิสต์ และแนวบอลเชวิคจากการบิดเบือนของสตาลิน
ในหนังสือ Animal Farm (รัฐสัตว์) ออร์เวลประชดระบบเผด็จการของสตาลิน ที่อ้างว่าเป็นสังคมนิยมแต่สร้างความเหลื่อมล้ำและการกดขี่อย่างหนักในรัส เซีย ตัวละครที่เป็นสตาลินคือหมูชื่อ นโปเลียน และหมูอีกตัวที่ชื่อ สโนบอล์คือตรอทสกี
หนังสือ 1984 ซึ่งเขียนในปี 1949 เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ระบบเผด็จการสตาลินอย่างหนัก แต่ผสมระบบนาซี-ฟาสซิสต์เข้าไปในรัฐเผด็จการเดียวกัน 1984 เน้นเรื่องกระบวนการกล่อมเกลาล้างสมอง การตอแหลโกหก และการสร้างนิยายขึ้นมาครอบงำสังคมโดยเผด็จการ มันเป็นหนังสือที่วิจารณ์ทั้งฝ่ายรัสเซียและฝ่ายอเมริกาในยุคสงครามเย็น
ในหนังสือ 1984 “พี่ใหญ่” ที่คอยจ้องมองประชาชนตลอด มีใบหน้าเหมือน สตาลิน และศัตรูหลักของระบบเผด็จการชื่อ โกล์ดสตีน ซึ่งมีหน้าตาเหมือน ตรอทสกี บ่อยครั้งจะมีการบรรยายวิธีการที่เผด็จการทำให้อดีตนักปฏิวัติสารภาพว่าตน เป็น “สายลับของศัตรู” ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับอดีตแกนนำพรรคบอลเชวิคในคดีการเมืองภายใต้ “ศาลเตี้ย” ของสตาลิน ในยุค 1930
ในการกล่าวถึงสภาพโลกในหนังสือ 1984 ออร์เวลประชดสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคสงครามเย็นและภายหลัง โลกในหนังสือของออร์เวลแบ่งเป็นสามมหาอำนาจที่อยู่ในสภาวะสงครามอย่างต่อ เนื่อง คือ Oceania (ศูนย์กลางที่สหรัฐ), Eastasia (ศูนย์กลางที่จีน) และ Eurasia (ศูนย์กลางที่รัสเซีย) ตัวละครเอกในเรื่องจะอาศัยอยู่ที่อังกฤษซึ่งตอนนี้เปลี่ยนชื่อไปเป็น “สนามบิน 1” และเป็นส่วนของอาณาจักร Oceania ของสหรัฐ ในสมัยประธานาธิบดีเรแกน หลังออร์เวลตายไปสามสิบกว่าปี คนอังกฤษที่คัดค้านจักรวรรดินิยมสหรัฐและการที่อังกฤษมีฐานทัพนิวเคลียร์ของ สหรัฐบนเกาะ มักจะพูดว่าอังกฤษกลายเป็นแค่ “สนามบินของสหรัฐ” ไปแล้ว
ทั้ง สามมหาอำนาจมีลัทธิการเมืองของตนเอง Oceania ใช้ลัทธิ Ingsoc (สังคมนิยมอังกฤษ) Eastasiaใช้ลัทธิ Death-Worship (บูชาความตาย) และ Eurasia ใช้ลัทธิ Neo-Bolshevism (บอลเชวิคใหม่) แต่ทั้งๆ ที่แต่ละฝ่ายอ้างว่าแนวคิดของตนเองแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับของฝ่ายตรงข้าม ในความเป็นจริงไม่ต่างกันเลยเพราะล้วนแต่เป็นเผด็จการของขุนศึกที่กดขี่ ประชาชน ในโลกแห่งความเป็นจริงของสงครามเย็น ฝ่ายสหรัฐอ้างว่าเป็น “โลกเสรี” แต่ในโลกเสรีมีเผด็จการทหารไทย เผด็จการทหารเกาหลีใต้ และเผด็จการทหารในลาตินอเมริกา ส่วนเผด็จการคอมมิวนิสต์สายสตาลินในรัซเสียและที่อื่นๆ โกหกว่าตนเป็น “ประชาธิปไตยประชาชน”
ในหนังสือ 1984 Oceania Eastasia และ Eurasia ฉวยโอกาสสับเปลี่ยนกันเป็น “แนวร่วม” เพื่อต่อต้านอีกฝ่าย โดยไม่มีเรื่องอดุมการณ์เข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ทั้งๆ ที่หนังสือทั้งสามเล่มนี้ของออร์เวล เป็นการวิจารณ์ระบบสตาลินอย่างหนัก จากจุดยืนนักสังคมนิยมปฏิวัติ แต่ฝ่ายขวาทั่วโลก โดยเฉพาะในสงครามเย็น และแม้แต่ฝ่ายขวาในไทย ก็บิดเบือนความหมายให้ตรงข้ามกับความจริงอย่างน่าไม่อาย เพื่อเสนอว่าเป็นหนังสือ “ต้านสังคมนิยม”
ในหนังสือ Homage To Catalonia (แด่คาทาโลเนีย) ออร์เวล กล่าวถึงเมืองบาซาโลนาที่ถูกกรรมาชีพยึด เขาสนับสนุนการที่คนงานเป็นใหญ่ในสังคมโดยไม่มีเงื่อนไข ทั้งๆ ที่เขาไม่สบายใจในฐานะที่ตัวเองเป็นคนชั้นกลาง ในหนังสือ 1984 ตัวเอกเชื่อมั่นว่าชนชั้นกรรมาชีพจะต้องเป็นผู้ปลดแอกตนเองและสังคมจากเผด็จ การ Ingsoc แต่เล่มนี้เขียนภายหลัง Homage To Catalonia และสะท้อนว่าออร์เวลเริ่มหดหู่กับความเป็นไปได้ว่ากรรมาชีพจะลุกฮือจริง
1984 กับสังคมไทย
เผด็จการ Ingsoc ติดตั้ง “โทรทัศน์” ที่คอยป้อนข่าวโฆษณาชวนเชื่อและคอยจ้องมองดูว่าคนในบ้านว่าทำอะไรและคิดอะไร มีหน่วย “ตำรวจความคิด” ที่คอยจับผิดคนที่คิดต่าง มีการส่งเสริมให้ประชาชนไปฟ้องตำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนอื่น ซึ่งคงจะทำให้เราคิดถึงหน่วยงานของรัฐไทย เช่นกระทรวงไอซีที หรือศูนย์ประสานการปราบปรามภายใต้ทหาร ประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย ที่คอยสอดส่องประชาชนและลงโทษด้วยกฏหมาย 112
ในเผด็จการ Ingsoc ท่านผู้นำหรือ “พี่ใหญ่” เป็นผู้ที่คิดค้นทุกอย่าง เก่งทุกอย่าง จะมีอายุยืนตลอดกาล เขารักและดูแลประชาชน แต่ในขณะเดียวกันก็คอยจ้องมองทุกคนเพื่อไม่ให้ก่อ “อาชญากรรมทางความคิด” ประชาชนต้องทั้งรักและกลัวเขา
ประชาชน ในสังคม Oceania แบ่งออกเป็นสองชนชั้นคือ กรรมาชีพ กับ สมาชิกพรรคซึ่งมีบทบาทคล้ายๆ ชนชั้นกลาง สำหรับเผด็จการ Ingsoc แกนนำพรรคไม่สนใจกรรมาชีพ เพราะคิดว่าโง่และไม่มีความสามารถในการลุกขึ้นสู้ แต่ในขณะเดียวกันมักอ้างว่าเขาปกครองเพื่อกรรมาชีพ แกนนำพรรคจะให้ความสนใจกับชนชั้นกลางผู้เป็นสมาชิกพรรคมากกว่า และจะกล่อมเกลาให้ทุกคนใช้ “ระบบคิดซ้อน” (Doublethink)
“ระบบคิดซ้อน” คือการที่คนเราจะเชื่ออะไรสักอย่างอย่างจริงใจเต็มใจ แต่รู้พร้อมๆ กันว่าความเชื่อนั้นเป็นเท็จด้วย เช่นการที่คนชั้นกลางอาจเชื่อว่ามีเทวดา อาจเชื่อด้วยความศรัทธาเต็มเบี่ยม แต่ในขณะเดียวกันรู้ในใจว่าเทวดาไม่มีจริงคือมันเป็นการล้วงเข้าไปในสมองของ คนเพื่อไม่ให้มีความคิดเป็นอิสระเอง
“ระบบคิดซ้อน” กับการ “พูดซ้อน” (Doublespeak) ไปด้วยกัน และเผด็จการ Ingsoc มีคำขวัญสำคัญคือ “สงครามคือสันติภาพ” “เสรีภาพคือการเป็นทาส” และ “ความโง่เขลาคือพลัง” การพูดซ้อนคงไม่ต่างจากคนที่เคยเรียกร้องให้เสื้อแดง “งด” ใช้ความรุนแรงในขณะที่ตนเองส่งทหารไปไล่ฆ่าประชาชน หรือไม่ต่างจากนายพลที่อ้างว่าเขา “ทำรัฐประหารเพื่อปกป้องประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ไม่ต่างจากคนที่ทำรัฐประหารดังกล่าวเสร็จแล้ว และก็หันมากล่าวหาคนที่คัดค้านรัฐประหารว่า “ดึงสถาบันกษัตริย์ลงมาเกี่ยวกับการเมือง”
ในระบบพูดซ้อน กระทรวงกลาโหมเรียกว่า “กระทรวงสันติภาพ” กระทรวงที่บิดเบือนประวัติศาสตร์คือ “กระทรวงแห่งความจริง” กระทรวงที่คุมการผลิต ซึงไม่เคยผลิตอะไรเพียงพอสำหรับประชาชนเลย มีชื่อว่า “กระทวงแห่งความอุดมสมบูรณ์” และกระทรวงที่จับประชาชนที่คิดต่างมาทรมาณ คือ “กระทรวงแห่งความรัก” คนที่สารภาพ “อาชญากรรมทางความคิด” ในคุกของกระทรวงแห่งความรัก ในที่สุดจะได้รับการอภัยโทษปล่อยตัว นับว่า Oceania คือตอแหลแลนด์ที่แท้จริง!
เผด็จ การ Ingsoc เข้าใจความสำคัญของประวัติศาสตร์มาก มีหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ในหนังสือเก่า และสิ่งตีพิมพ์ทุกชนิด อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับ “แนว” ของรัฐบาลในขณะนั้น และเมื่อมีการเปลี่ยน “แนว” ก็ ต้องปรับประวัติศาสตร์ตามเสมอ ในประเทศไทยอาจไม่ถึงระดับนี้ แต่กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นๆ มีบทบาทอันยาวนานในการเขียนประวัติศาสตร์ไทยให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชน ชั้นปกครอง
จริงๆ แล้วระบบเผด็จการ Ingsoc กำลังเปลี่ยนภาษาจากภาษาเดิม ไปเป็น “ภาษาใหม่” โดย ที่ศัพท์ต่างๆ ที่อนุญาตให้ใช้กลายเป็นแค่ศัพท์ที่เชิดชูระบบเผด็จการ หรือเป็นศัพท์ที่ใช้วิจารณ์ระบบหรือคิดต่างไม่ได้เลย เป้าหมายหลักคือการทำลายความสามารถของประชาชนที่จะคิด ยิ่งกว่านั้นในภาษาใหม่ ไม่มีคำว่าวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ถูกยกเลิกไปแล้ว สังคมไม่มีการพัฒนา
เพราะชนชั้น ปกครอง Oceania กลัวว่าการพัฒนาจะทำให้กรรมาชีพเริ่มมีความมั่นใจในการตื่นตัวลุกขึ้นสู้ ประเด็นนี้ทำให้นึกถึงประโยคหนึ่งในแถลงการณ์ฉบับที่หนึ่งของคณะราษฏร์ในปี ๒๔๗๕ คือ “ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษา ที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าถ้าราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังตน”
เผด็จ การ Ingsoc คอยห้ามปรามเพศสัมพันธ์ กรณียกเว้นคือกรณีที่สมรสแล้วและมีเพศสัมพันธ์เพื่อผลิตลูก การชอบเซกซ์เป็นสิ่งต้องห้ามโดยเฉพาะในสตรี และการสร้างความเก็บกดทางเพศ ตามแนวจารีตนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปสู่การระเบิดออกมาของความเกลียดชังต่อศัตรู และความจงรักภักดีรัก “พี่ใหญ่” รัฐบาลมีการติดป้ายใบหน้า “พี่ใหญ่” ทั่วเมือง และจัด “สิบนาทีแห่งการเกลียดชังศัตรู” ทุกอาทิตย์ ซึ่งเป็นภาคบังคับสำหรับประชาชนทุกคนตามสถานที่ทำงานต่างๆ
ออร์เวล ตายประมาณหนึ่งปีหลังจากที่เขาเขียนหนังสือ 1984 เขาเลยไม่มีโอกาสเห็นการลุกขึ้นสู้ของกรรมาชีพและผู้ถูกกดขี่ทั่วโลก ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ การปฏิวัติอียิปต์ และการนัดหยุดงานต่อต้านแนวเสรีนิยมท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป ทำให้ความเชื่อมั่นได้ว่า “ถ้ามีความหวัง... มันอยู่ที่ชนชั้นกรรมาชีพ” If there is hope, it lies with the Proles
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น