หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

‘อภยยาตรา’ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จุดประกายสังคมหันมองปัญหา ม. 112

เชียงใหม่ร่วมด้วย Fearlessness Walk

วันเดียวกัน เวลาประมาณ 17.00น. ที่ถนนคนเดินวันเสาร์ วัวลาย จ.เชียงใหม่ ประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา นักกิจกรรม ราว 50 คน รวมตัวกันจัดกิจกรรมคู่ขนานกับงาน ที่กรุงเทพฯ โดยมีการแต่งกายด้วยเสื้อสีดำ บ้างสวมหน้ากาก "อากง" และถือป้ายข้อความ อาทิ "Fearlessness Walk" "อากง" "เฮาคืออากง" "หยุดคุกคามเสรีภาพทางวิชาการด้วย ม.112" โดยเดินรณรงค์อย่างเงียบๆ และแจกแผ่นพับรณรงค์เกี่ยวกับมาตรา 112 บนถนนคนเดิน และหลังยืนเคารพธงชาติ ทั้งหมดได้นอนลงกับพื้น ซึ่งสามารถเรียกความสนใจจากผู้พบเห็นพอสมควร

fearlessness walk
2011-12-10 18.02.24

รจเรข วัฒนพาณิชย์ หนึ่งในผู้ร่วมจัด บอกว่า ในโอกาสที่วันนี้เป็นวันสิทธิมนุษยชนสากลด้วย การนอนลงก็คล้ายเป็นการประชดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทยที่ยังนอน หลับอยู่ ไม่ลุกขึ้นมาทำอะไร ขณะที่องค์กรสิทธิทั้งของเอเชีย ยุโรป หรือสหรัฐ ต่างก็เรียกร้องให้มีการแก้ไขเรื่องนี้กันแล้ว จึงอยากนอนเพื่อบอกว่าเขาไม่ได้เรื่อง

เมื่อถามถึงกิจกรรมต่อๆ ไป รจเรข กล่าวว่า คงจะไม่หยุดเรื่องนี้ สำหรับวันนี้ ดีใจที่มีคนถามว่าอากงคือใคร ก็คิดว่าน่าสนใจ แม้ ณ ตอนนั้นเขาอาจยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร แต่กลับไปเขาอาจค้นหาในกูเกิลดูได้อยู่แล้ว

นักศึกษาวัย 26 ปีจากแนวร่วมนักเรียนนิสิตนักศึกษาเสรีชนล้านนา ซึ่งมาร่วมกิจกรรมด้วย เล่าว่า ในวันพิพากษา "อากง" นั้น กลุ่มนักศึกษาพยายามจะจัดกิจกรรมขึ้น แต่ก็ล้มเหลวเนื่องจากถูกจับตาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงมองว่าอาจไม่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ในที่สุดก็ได้จัดงานวันนี้คู่ขนานกับที่กรุงเทพฯ ถือเป็นการแสดงพลังจากภูมิภาค โดยตลอดเส้นทางก็มีคนมาถามว่า "อากง" คือใคร ตนเองก็ได้อธิบายและได้รับเสียงสนับสนุนพอสมควร

ด้านนักศึกษาวัย 21 ปีอีกคนจากแนวร่วมนักเรียนนิสิตนักศึกษาเสรีชนล้านนา แสดงความเห็นว่า การเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์นี้เป็นการตั้งคำถามปลายเปิด ที่ก่อให้เกิดการคิดต่อทั้งเห็นด้วยและหักล้าง ซึ่งจะทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นสาธารณะและเป็นที่สนใจ ทั้งนี้เขาเองจะรู้สึกดีใจหากผู้ที่เห็นต่างจะมาถกเถียงกัน เพราะนั่นแสดงถึงความเป็นประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม มองว่า ปัญหาตอนนี้เกิดจากสังคมไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะรับความเห็นที่แตกต่างได้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38270

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น