ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรที่จะเข้าเป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศได้แล้ว
พิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ เนชั่น และ เอเซีย นิว เนทเวิร์ค
วันที่ 22 มกราคม 2544
The Nation/Asia Newwork
ความเห็นของผู้แปล:
เมื่อมีคนส่งข้อความเรื่องนี้ให้ ดิฉันแปลกใจอย่างมาก และได้สืบถามบุคคลที่ใกล้ชิดในทางการเมืองหลายท่าน ต่างล้วนปฎิเสธว่า ไม่เคยได้ยินข่าวในเรื่องนี้มาก่อน ทั้งๆ ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 1 ปีมาแล้ว ในขณะที่ ดร. ฮันส์ มาเยี่ยมประเทศไทย เพื่อทำการปาฐกถาเกี่ยวกับเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์
คิดว่า สื่อหลักของประเทศไทยได้ปิดเรื่องนี้ทั้งหมด มีแต่เพียงหนังสือพิมพ์เนชั่นและบางกอกโพสต์ซึ่งมีข่าวแบบนี้ แต่เป็นข่าวเล็กๆ ไม่ได้อยู่ในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์
เนื้อหาที่น่า สนใจคือ ตัวรองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ (องค์กร ไอซีซี) เป็นผู้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์เอง และได้เรียกร้องให้ประเทศไทยเป็นผู้ลงนามสัตยาบันเสีย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย
แต่ท่านฮันส์ มาพูดเรื่องนี้ภายใต้รัฐบาลของนายมาร์ค ซึ่งอย่างไรก็ตาม คงไม่ต้องการลงสัตยาบันใดๆ เพราะตัวเองจะถูกสาวเรื่องแน่ๆ
เมื่อ รัฐบาลมาร์คได้สิ้นสุดลง รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์สามารถเดินเกมส์ต่อได้ เพราะศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นผู้ต้องการให้ประเทศไทยลงสัตยาบัน
คิดว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์คงจะไม่มีข้ออ้างใดๆ ต่อการลงสัตยาบันในเรื่องนี้ เพราะใครผิดใครถูก เราเอาเรื่องนี้มาตัดสินได้
สำหรับความคิดของดิฉันนั้น การไม่ลงสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นการทรยศต่อประชาชนผู้เลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามา
เมื่อ คุณต้องการสร้างรัฐให้มีนิติรัฐ สร้างมาตรฐานทางกฎหมายให้เกิดความเชื่อถือ การลงสัตยาบันให้กับ องค์กร ไอซีซี เป็นเรื่องที่ต้องกระทำโดยไม่ชักช้า
ดิฉัน ขอถามเหตุผลกับผู้แทนหรือตัวแทนพรรคเพื่อไทยหน่อยว่า อะไรคือปัญหาต่อการประวิงเวลาของการลงสัตยาบันให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ คะ?
ถ้ากลัวว่า คุณทักษิณฯ จะเดือดร้อน แสดงว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้คิดถึงประชาชนนะคะ และคุณทักษิณก็สามารถพิสูจน์เรื่องนี้ในกระบวนการศาลยุติธรรมได้ เพราะทั่วโลกเขามีความมั่นใจกับศาลนี้ ถ้าคุณมั่นใจว่าไม่ผิด คุณจะต้องสู้ตามกระบวนการค่ะ
การตัดสินภายใต้กระบวนการศาลระดับโลก นั้น รับรองได้ว่า ถ้าเขามีข้อสงสัยหรืออะไรคุมเครือแล้ว เขาจะยกผลประโยชน์ให้กับผู้ถูกกล่าวหาเสมอ รวมทั้งเคสของคุณอภิสิทธิ์ด้วย เพราะเขาใช้มาตรฐานเดียวในการตัดสินความ เขาจะตัดสินเพื่อเป็นบรรทัดฐาน ไม่ใช่ตัดสินภายใต้อำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตอนนี้ ในการเขียนความเห็น ก็อ่านข่าวเก่าๆ ปรากฎว่า คุณธิดา ถาวรเศรษฐ และ คุณจตุพร พรหมพันธุ์ ของฝ่าย นปช ก็ได้เข้าไปพบกับท่าน ฮันส์เหมือนกัน และท่านฮันส์ได้กล่าวโดยตรงว่า เขาไม่สามารถรับเคสได้ จนกว่าประเทศไทยจะให้สัตยาบัน
เรื่องนี้เกิดขึ้นมาเกือบหนึ่งปี แต่อยู่ๆ ทำไมเมื่อไม่กี่วันมานี้ มีข่าวว่า สส สุนัยจะเดินทางไปที่ ไอซีซี เพื่อสืบข้อมูล ทั้งๆ ที่มันมีอยู่แล้วกับคุณจตุพรและคุณธิดา?
สิ่ง ที่สำคัญในบทความนี้ก็คือว่า ทางศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นผู้ชักชวนให้รัฐบาลไทยไปลงสัตยาบัน ดังนั้น ความยากง่ายมันอยู่กับทางฝ่ายเราแล้วค่ะ ไม่ใช่มาโมเมว่า ปัญหาอยู่ทางรายละเอียดของฝ่ายองค์กรไอซีซีเขา ถ้ามีใครอ้างถึง ไอซีซี อีก ดิฉันขอพูดเลยว่าเป็นเรื่องเท็จ
แต่ที่ช้ำใจมากๆ คือว่า สื่อหลักไทย ตัดสินใจไม่ลงข่าวแบบนี้ ทำให้ปิดหูปิดตาเราทั้งหมด รวมไปถึงการปาฐกถาของท่านฮันส์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย คิดว่่าอาจจะมีฝ่ายเสื้อแดงไปน้อยมาก จนแทบไม่มีข่าวเลย
อย่างไรก็ตาม มันยังไม่สายเกินไปที่จะนำเอาข่าวนี้ ขึ้นมาปัดฝุ่น เพื่อเป็นความรู้กับพี่น้องของเราค่ะ
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น