หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิญญาณหลอนของการล้อมสังหาร

วิญญาณหลอนของการล้อมสังหาร

 

 

เมื่อนั่งอยู่ใต้ร่มเงาของต้นโพธิ์ใหญ่แสนร่มเย็นในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์กลางกรุงเทพมหานครอันเก่าแก่ ยากยิ่งที่จะจินตนาการถึงภาพความรุนแรงชวนคลื่นไส้ที่แทบจะกลืนกินทั้งธรรม ศาสตร์ในปี 1976 ปีซึ่งผมเพิ่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่เมืองโกลกาต้า

เทียบกับปัจจุบันแล้ว เวลานั้นแทบจะเป็นอีกโลกหนึ่งเลยก็ว่าได้ สงครามเวียดนามพึ่งจบสิ้นลง แต่สงครามเย็นยังคงร้อนระอุ ไม่มีอะไรที่อย่างเคเบิ้ลทีวี ในหลายประเทศยังไม่มีแม้แต่ทีวีด้วยซ้ำ เวลานั้นเป็นยุคสมัยของวิทยุ

ในวันที่ 6 ตุลาคมปีดังกล่าว กองกำลังติดอาวุธ ตำรวจ และ กลุ่มผู้ชุมนุมขวาจัดได้บุกเข้าทำร้ายเหล่านักศึกษาฝ่ายซ้ายนับพันอย่างโหด ร้ายป่าเถื่อน ในขณะที่เหล่านักศึกษากำลังชุมนุมประท้วงการกลับมาของถนอม กิตติขจร อดีตผู้นำเผด็จการทหารที่ถูกขับออกนอกประเทศหลังการลุกฮือขึ้นต่อต้านใน เหตุการณ์ 14 ตุลา เมื่อปี 1973

คุณสามารถหาดูคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ในวันนั้นได้ไม่ยากทางอินเตอร์เน็ต  ยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการคือ 46 คน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงนั้นเป็นที่สงสัยว่าอาจจะมากกว่านั้นกว่า เท่าตัว การประกาศนิรโทษกรรมอย่างทั่วไปทำให้ไม่มีการจับกุมกลุ่มผู้กระทำผิดมาลงโทษ

บรรยากาศในวันนั้นที่เหล่านักศึกษาถูกยิง ทุบตี กระทืบ ลากไปกับพื้นสนามหลวง และ แขวนคอบนต้นไม้ โดยมีกลุ่มคนโห่ร้องสนับสนุน แม้แต่พาเด็กเล็กมายืนชมอย่างเพลิดเพลิน อันเป็นผลมาจากการปลุกระดมโดยแกนนำฝ่ายขวากล่าวหาว่าเหล่านักศึกษาต้องการ ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ บรรยากาศน่าหวาดหวั่นของช่วงเวลาอำมหิตนั้นได้กลับมาอีกครั้ง

ณ วันนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้กลับมาเป็นศูนย์กลางความขัดแย้งอีกครั้ง กลุ่มอาจารย์กฎหมาย 7 คนซึ่งเรียกตัวเองว่า “นิติราษฎร์” หรือ “นิติศาสตร์เพื่อราษฎร” ได้เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112  หรือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย นอกจากนี้ยังเสนอว่าในอนาคตพระมหากษัตริย์ควรจะต้องสาบานตนว่าจะรักษารัฐ ธรรมนูญก่อนขึ้นรับตำแหน่งเพื่อป้องกันมิให้การรับรองคณะรัฐประหารเกิดขึ้น

ข้อเสนอของนิติราษฎร์นี้นำมาสู่การโต้เถียงอย่างดุเดือด แม้ประเทศไทยจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐ ธรรมนูญภายหลังจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 1932 แล้ว แต่อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งมีพระชนมายุกว่า 84 พรรษานั้น ได้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจสูงสุดของประเทศ และ อาจเรียกได้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ราชวงศ์จักรีรุ่งเรืองเป็นที่สุด 

แม้ว่าสถาบันกษัตริย์จะอยู่เหนือการเมืองอย่างเป็นทางการ แต่ในความเป็นจริงการถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันฯยังเป็นอาวุธทาง การเมืองที่ร้ายแรงของกลุ่มอำนาจต่างๆ รวมทั้งพรรคการเมือง และ กองทัพซึ่งมีรากฐานความจงรักภักดีมิใช่ต่อรัฐบาลพลเรือน แต่เป็นสถาบันกษัตริย์

ในวันที่ 30 มกราคม สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทำการห้ามกลุ่มนิติราษฎร์ไม่ให้จัดการ รณรงค์เรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย ด้วยกลัวว่าจะเกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายขึ้นถ้ายังให้ดำเนินการต่อ จากวันนั้นภายในธรรมศาสตร์ได้มีการชุมนุมประท้วงเล็กน้อยทั้งจากฝ่ายที่สนับ สนุน และ ต่อต้านนิติราษฎร์ หลายวันถัดมาอธิการบดีจึงต้องยอมถอยครึ่งก้าวโดยกล่าวว่าถ้าเป็นการเสวนาทาง วิชาการสามารถจัดได้

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกผู้ทรงอิทธิพลได้แสดงตัวชัดเจนว่าคัดค้านกลุ่มนิติราษฎร์ โดยเตือนให้รีบยุติการรณรงค์โดยเร็ว ในสัปดาห์นี้ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ. สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ก็ได้ตบเท้าออกมาค้านนิติราษฎร์ด้วยว่า “ทุกกองทัพได้จับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดหวั่นว่าอาจกระทบ ต่อความมั่นคงของชาติ ผมเห็นด้วยกับคนส่วนใหญ่ว่าการรณรงค์นี้ไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไรเลย”

ไม่ชัดเจนว่าเขาได้ใช้หลักการอะไรมาสรุปว่าคน “ส่วนใหญ่” เห็นว่าเป็นการรณรงค์ที่ไม่เกิดประโยชน์ เพราะเท่าที่ทราบยังเคยมีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนหรือประชามติอย่าง แท้จริงในประเด็นนี้

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39215

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น