หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รายงานเสวนา สถาบันกษัตริย์ กับสังคมประชาธิปไตย

รายงานเสวนา สถาบันกษัตริย์ กับสังคมประชาธิปไตย

มุมมองจากพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ เวียงรัฐ เนติโพธิ์ และสุรพศ ทวีศักดิ์ กรณีสถาบันกษัตริย์กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยผ่านการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ กับสมบูรณาญาสิทธิราชย์, ศาสนาพุทธ และ ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านของจักรพรรดิญี่ปุ่น

วันที่ 11 ก.พ. 2555 กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญจัดงานปาฐกถาและเสวนา เพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอนิติราษฎร์ โดย ช่วงแรกเป็นการปาฐกถาเรื่อง “ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง โดย ธงชัย วินิจจะกูล

และช่วงต่อมาคือ สถาบันกษัตริย์กับสังคมประชาธิปไตย โดย เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรพศ ทวีศักดิ์-นักปรัชญาชายขอบ และพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: อำนาจเหนือโลก VS อำนาจที่มาจากประชาชน


โดยพิชิตกล่าวเปรียบเทียบตำแหน่งแห่งที่ ของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่าในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จุดศูนย์กลางก็คือสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์มาสูอำนาจได้โดยอ้างอำนาจเหนือโลก อ้างสิทธิในการปกครองไพร่ฟ้าทั้งหลายโดยอ้างอำนาจเหนือโลกราษฎรจะชอบหรือไม่ นั้นเป็นสิ่งไม่จำเป็น องค์พระหากษัตริย์นั้นสัมบูรณ์ เป็น Absolute Monarchy กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงเป็นต้นกำเนิดของกฎหมาย เป็นจอมทัพ เป็นสิ่งเดียวกับความเป็นชาติหรือรัฐ ราษฎรที่ถูกปกครองเรียกว่า Subject หรือไพร่ มีความสัมพันธ์กันสองทาง คือ ทางหนึ่งพระมหากษัตริย์ผูกพันว่าจะให้แกราษฎรด้วยความเมตตา-Grace ขณะที่ราษฎรก็ต้องตอบแทนด้วย Royalty คือ ความจงรักภักดี

(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39218

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น