หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

5 แนวต้าน กมธ.ปรองดอง เกมนิรโทษ เพื่อไทยได้ ทักษิณรอด ??

5 แนวต้าน กมธ.ปรองดอง เกมนิรโทษ เพื่อไทยได้ ทักษิณรอด ??

 

 



แม้จังหวะเกมการปรองดองของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในฝ่ายนิติบัญญัติ เพิ่งอยู่ในช่วงตั้งไข่ แค่บรรจุวาระพิจารณา แต่ยังไม่ลงมติ

หากแต่ปลายทางกลับถูกบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน

เป็น วาระเพื่อขออนุมัติสร้างสถานีปรองดอง-นิรโทษกรรมล่วงหน้า หวังใช้เป็นช่องทางรองรับมติเสียงข้างมาก หากสภาเห็นชอบให้นำข้อเสนอจากงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ของสถาบันพระปกเกล้ามาปฏิบัติ

มี "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" อดีตนายกรัฐมนตรี น้องเขย "ทักษิณ ชินวัตร" ทำหน้าที่นั่งหัวโต๊ะการประชุม

จตุรนต์ ฉายแสง-นพดล ปัทมะ-

สม พงษ์ อมรวิวัฒน์-ชูศักดิ์ ศิรินิล-วัฒนา เมืองสุข และ ส.ส.จากกรรมาธิการปรองดอง และกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่วมอยู่ในวงประชุม "ลับ" ที่พรรคเพื่อไทย

ข้อสรุปบนโต๊ะจึงมีทั้ง ออกกฎหมายเป็นร่างพระราชบัญญัติ โดยตั้งคณะกรรมการพิเศษระดับชาติขึ้นมาพิจารณา ก่อนชงให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีออกมติเห็นชอบ แล้วส่งให้สภาพิจารณาในวาระ 1-2-3 ตามหลักการพิจารณากฎหมายทั่วไป

แม้ยังไม่สรุปชัดเจนว่าจะใช้ ชื่อร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง หรือร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่มีผลลัพธ์ชัดเจนว่าเส้นทางนี้ เปรียบเสมือนทางด่วนพิเศษ

พิเศษตรงที่มี "ทักษิณ" เป็นเป้าหมายสำคัญ

เพราะ งานวิจัยที่บรรจุข้อเสนอเรื่องการปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริงเลือกใช้ เป็นแนวทางตามข้อ 3 ที่ระบุว่า

"การ เสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและ เป็นการลดเงื่อนไขของข้อกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ในส่วนของการดำเนินการกับผู้ถูกกล่าวหา โดยกระบวนการตรวจสอบของการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)"

มี เป้าหมายล้างผลคดีของ คตส.ทั้งหมด นำไปสู่นิรโทษกรรมคดีที่ "ทักษิณ" ตกเป็นจำเลย และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เช่น คดีที่ดินรัชดา

พร้อมกับคืนเงินส่วนที่ถูกยึดจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท หรือคืนเป็นบางส่วน แล้วแต่การเจรจา

รวมถึงยกโทษทางการเมืองให้แก่บุคคลที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง จากผลพวงการยุบพรรคพลังประชาชน

นักการ เมืองระดับปฏิบัติการของพรรคเพื่อไทย วางแผนรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า เพราะรู้ดีว่าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งธงค้านหัวชนฝา และเตรียมพร้อมจุดประเด็นลากการเมืองในสภา-เคลื่อนลงสู่ท้องถนน

แต่ปัจจัยนี้ไม่มีผลต่อการโหวต เพราะจำนวนมือที่พรรคเพื่อไทยถือแต้มต่อ-เป็นเสียงข้างมาก คุมเสียงสภาได้อย่างเบ็ดเสร็จ

รวมถึงการ "ล็อบบี้" ส.ว.เลือกตั้ง ให้ยกมือสนับสนุนแนวทางสร้างความปรองดอง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมเพิ่มเป็นเท่าตัว

แกนนำพรรคเพื่อไทยยอมรับว่า พรรคเพื่อไทยอาจใช้เสียงข้างมาก เพื่อทำให้นิรโทษกรรมสำเร็จ ส่วนกระบวนการปรองดองอาจล้มเหลว

เพราะยอมรับการปะทะกับ 5 แรงต้านที่เริ่มก่อตัวและดำรงอยู่

แรง ต้านที่ 1 แรงต้านจากกลุ่มภาคประชาชน-กลุ่มผลประโยชน์การเมือง เช่น กลุ่มคนเสื้อหลากสี และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเริ่มอ่อนตัว ที่ตอนนี้ยังไร้พลัง-แต่ถ้าเงื่อนไขการเมืองสุกงอม กระแสต่อต้านอาจจุดติด

แรงต้านที่ 2 จากพรรคฝ่ายค้าน เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับชั้นกรรมาธิการปรองดอง มีการถอนตัวจากกรรมาธิการซีกพรรคประชาธิปัตย์

โดย "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงคณะผู้วิจัยของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งแต่ท้วงติงว่างานวิจัยบางประเด็นยังไม่สมบูรณ์ จนถึงเรียกร้องให้คณะผู้วิจัยถอนงานวิจัยกลับ

แรงต้านที่ 3 "พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์" เรียกร้องให้คณะผู้วิจัยถอนงานวิจัยกลับ เช่นเดียวกับข้อเรียกร้องของผู้นำฝ่ายค้าน

แรงต้านที่ 4 จากเสียงคัดค้านของกลุ่ม 40 ส.ว.สรรหา กลุ่มของ "สมชาย แสวงการ"

แรง ต้านที่ 5 จากสถาบันพระปกเกล้า เจ้าของงานวิจัย ที่ "ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" เป็นหัวขบวน ผ่านแถลงการณ์ เรื่อง รายงานการวิจัย "การสร้างความปรองดองแห่งชาติ" ประกาศชัดเจนว่างานวิจัยปรองดอง มีลิขสิทธิ์ สามารถขอคืน ตามมาตรา 27 ของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ได้

"โดยเฉพาะ เมื่อมีการเลือกนำรายงานบางส่วนไปใช้ประโยชน์ทางการเมือง และอาจจะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงขึ้น หรือมีการรวบรัดนำประเด็นซึ่งผู้วิจัยเสนอให้นำไปพูดคุยแสวงหาทางออกร่วมกัน ไปปฏิบัติทันที โดยไม่ได้นำไปพูดคุยให้กว้างขวางทั้งประเทศ" แถลงการณ์ระบุ

ทั้ง 5 แรงต้าน กำเนิดขึ้น-ก่อตัว ปะทะกับแผนปรองดอง-นิรโทษกรรม ของพรรคเพื่อไทย ที่อ้างเสียงข้างมาก

การปรองดอง-นิรโทษกรรม จึงเท่ากับทักษิณรอดคุก+ได้เงิน 4.6 หมื่นล้านคืน และนักโทษการเมืองได้โหนขบวนปรองดองฟื้นคืนชีพ


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333800744&grpid=01&catid=01

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น