แอมเนสตี้ เสนออภัยโทษควรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย
เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 55 ที่ผ่านมาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
ออกแถลงการณ์ "ประเทศไทย:
การเสนออภัยโทษควรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย"
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ..
ประเทศไทย: การเสนออภัยโทษควรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย
การเสนออภัยโทษความผิดที่กระทำขึ้นนับแต่เกิดวิกฤตการเมืองอย่างต่อ
เนื่องในปัจจุบันของไทย
ต้องไม่กลายเป็นการส่งเสริมการลอยนวลพ้นผิดของผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างปรองดองแห่งชาติของ
รัฐสภาไทยได้จัดการอภิปรายสามวันเกี่ยวกับรายงานซึ่งเสนอให้อภัยโทษต่อผู้นำ
และผู้สนับสนุนขบวนการทางการเมืองทั้งหลาย นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ
และเจ้าหน้าที่ความมั่นคง
โดยให้ย้อนหลังไปอย่างน้อยจนถึงช่วงทำรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549
รายงานซึ่งจัดเตรียมโดยสถาบันพระปกเกล้ามีข้อเสนอว่าการให้อภัยโทษควรไม่ครอบคลุมถึงความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
“การอภัยโทษต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงเป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้
ตามกฎบัตรสากล” เบนจามิน ซาวัคกี (Benjamin Zawacki)
นักวิจัยประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
“รัฐบาลไทยควรดำเนินการสอบสวนตามข้อกล่าวหาการละเมิดทั้งปวง
โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ทางการเมืองของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
และควรมีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้ที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนรับผิดชอบต่อความ
ผิดทางอาญา”
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังแสดงข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้กฎหมายอภัยโทษที่เสนอกับกรณีนักโทษด้านมโนธรรมสำนึก
นับแต่เกิดวิกฤตการเมืองเมื่อปี 2548
ในประเทศไทยมีนักโทษด้านมโนธรรมสำนึกหลายคนที่ถูกตั้งข้อหาตามกฎหมายหมิ่น
พระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา)
และ/หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกใช้เป็นพื้นฐานนำไปสู่การตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุ
ภาพ
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/39989
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น