ปาตานีและกรุงเทพฯ: ประชาชาติที่ไร้รัฐและความเป็นรัฐประชาชาติใหม่
บทวิเคราะห์แรงขับของระเบิดใต้ ปัญหาอยู่ที่ อุดมการณ์ชาตินิยมแบบอนุรักษ์ ซึ่งหมายถึง “ความเป็นรัฐที่อำนาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชนและปวงชนไม่ใช่ ชาติ และชาติในทัศนะของอุดมการณ์นี้ คือผู้นำสูงสุดหรือผู้ปกครองสูงสุด”
ตลอดระยะเวลา 8 ปีของสถานการณ์การสู้รบกันระหว่างกองทัพไทยกับกองกำลังติดอาวุธอุดมการณ์ปลด ปล่อยปาตานี เป็นที่ชัดเจนในตัวของมันเองแล้วว่าเป็นการต่อสู้กันระหว่างจุดยืนใน อุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่างกันอย่างคู่ขนานของความเป็นปาตานีและความเป็น กรุงเทพฯ
แต่แค่เพียงรู้ชัดเจนว่าใครกำลังสู้อยู่กับใครเท่านั้น คงไม่เพียงพอสำหรับการที่จะมองเห็นภาพแนวทางการคลี่คลายการสู้รบที่ชายแดน ใต้ของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน
กล่าวคือในทุกปรากฏการณ์ความขัดแย้งในสังคมที่เกิดขึ้นนั้น ย่อมมีสิ่งที่เรียกว่า “แรงขับ” เป็นตัวผลักให้เกิดขึ้นแทบทั้งสิ้น กรณีของปรากฏการณ์การสู้รบกันที่ชายแดนใต้ก็เช่นเดียวกัน ย่อมมีแรงขับให้เกิดขึ้นแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าจะหาเจอหรือไม่และตั้งโจทย์ของปัญหาถูกหรือไม่ แค่นั้นเอง
แรงขับแรก เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1786 ตรงกับปี พ.ศ.2329 เกิดเหตุการณ์การก่อสงครามล่าอาณานิคมโดยอาณาจักรสยามหรือรัตนโกสินทร์หรือ กรุงเทพฯต่ออาณาจักรปาตานี ปรากฏว่าอาณาจักรปาตานีเป็นฝ่ายแพ้และกลายเป็นเมืองขึ้น โดยที่อำนาจอธิปไตยยังมีอยู่
แรงขับที่สอง เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1808 ตรงกับปี พ.ศ.2351 เกิดเหตุการณ์การแบ่งแยกและปกครองอาณาจักรปาตานีเป็นเจ็ดหัวเมือง
แรงขับที่สาม เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1821 ตรงกับปี พ.ศ.2364 เกิดเหตุการณ์การโยกย้ายอพยพคนสยามนับถือศาสนาพุทธมาตั้งรกรากในพื้นที่ของ หัวเมืองทั้งเจ็ด
แรงขับที่สี่ เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1902 ตรงกับปี พ.ศ.2445 เกิดเหตุการณ์การผนวกหัวเมืองทั้งเจ็ดเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯภายใต้โครง สร้างแบบมณฑลเทศาภิบาล
แรงขับที่ห้า เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1909 ตรงกับปี พ.ศ.2452 เกิดเหตุการณ์การทำสนธิสัญญาแบ่งปันการยึดครองดินแดนอาณานิคมระหว่างสยามกับ บรีทิช ภายใต้สัญญาที่เรียกว่า Anglo-Siamese Treaty
ถือได้ว่าแรงขับทั้งห้าข้างต้นเป็นต้นเหตุให้คนปาตานีต้องกลายเป็น “ประชาชาติที่ไร้รัฐ” จนถึงทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น