ว่าด้วยทุน: เล่ม 1 ภาคที่ 4 อัตราและปริมาณมูลค่าส่วนเกิน(บทที่15)
มาร์คซ์ เชื่อว่าในระบบสังคมนิยม ภายใต้การปกครองตนเองของกรรมาชีพ
โรงเรียนจะฝึกทั้งทฤษฏีและฝีมือในการปฏิบัติงานพร้อมกัน
ไม่ใช่แค่สอนให้คนท่องจำทฤษฏีเท่านั้น
โดย กองบรรณาธิการ
บทที่ 15: เครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
“เครื่องจักร” ต่างจาก “เครื่องมือ” เพราะเครื่องจักรประกอบไปด้วยเครื่องมือหลายชนิดที่ทำงานพร้อมกัน
ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมใหญ่ใช้เครื่องจักรอย่างต่อเนื่องเป็นระบบในลักษณะ ที่เพิ่มประสิทธิภาพ ลดความสำคัญของพลังกล้ามเนื้อ และถือได้ว่าเป็นการรวบรวมเครื่องมือต่างๆ มาทำงานแบบรวมหมู่ เหมือนกับที่รวบรวมคนมาทำงานรวมหมู่
• เป้าหมายในการใช้เครื่องจักร ในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตคือ
1. ทำให้สินค้าถูกลงเพราะลดปริมาณแรงงานที่ใช้สร้างสินค้าแต่ละชิ้น
2. เพิ่มมูลค่าส่วนเกินต่อหัวคนงาน โดยลดชั่วโมงการทำงานที่ใช้ในการผลิตมูลค่ายังชีพพื้นฐาน และเพิ่มสัดส่วนเวลาที่คนงานทำงานฟรีให้นายทุน
การวิวัฒนาการของสังคมยุโรป ต.ต.
1. จากหัตถกรรม => อุตสาหกรรมเล็ก => อุตสาหกรรมใหญ่
2. จากเครื่องมือ => เครื่องจักร => ระบบเครื่องจักร
ต้องอาศัยการพัฒนาทั้ง คน และเทคโนโลจี ของทั้งสังคม (ฐานวัตถุ) ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการผลิตของสังคม (โครงสร้างส่วนบน)
• เครื่องจักรไม่ได้สร้างมูลค่า
• มูลค่าของเครื่องจักรคือปริมาณแรงงานในอดีตที่ใช้สร้างมัน
• มูลค่าสินค้าที่ใช้เครื่องจักรใหญ่ = ปริมาณแรงงานที่มีชีวิต + สัดส่วนมูลค่าเครื่องจักรที่ค่อยๆละลายไปใน ผลผลิตตามอายุการทำงานของเครื่องจักร
• ถ้าเครื่องจักรใช้ทดแทนคนงาน หรือใช้ผลิตสินค้าเร็วขึ้น ผลคือปริมาณแรงงานที่มีชีวิตในสินค้าแต่ละชิ้นนั้นลดลง และมูลค่าเครื่องจักรเพิ่มขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ (ทุนคงที่เพิ่มเร็วกว่าทุนแปรผัน) และมูลค่าสินค้าทั้งหมดลดลง
• ถ้าค่าซื้อเครื่องจักร สูงกว่า ค่าจ้างแรงงานที่ถูกทดแทนและตัดออกไป มันไม่คุ้มในระยะสั้น
ผลของเครื่องจักรต่อคนงาน
1. เนื่องจากลดความสำคัญของพลังกล้ามเนื้อ จ้างเด็กและสตรีได้ นำไปสู่การทำลายชีวิตเด็ก เด็กถูกขาย และแม่ไม่มีเวลาดูแลเด็กเล็ก[1]
2. ก่อให้เกิดแรงกดดันให้ยืดชั่วโมงการทำงานต่อวันเพราะ
• จะได้ใช้เครื่องจักรให้คุ้มกับมูลค่าที่ใช้ซื้อในเวลาที่น้อยที่สุด
• เพื่อเร่งผลิตสินค้าก่อนที่เครื่องจักรรุ่นใหม่จะวางตลาด หรือคู่แข่งจะซื้อเครื่องจักรประเภทเดียวกัน
บทที่ 15: เครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
“เครื่องจักร” ต่างจาก “เครื่องมือ” เพราะเครื่องจักรประกอบไปด้วยเครื่องมือหลายชนิดที่ทำงานพร้อมกัน
ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมใหญ่ใช้เครื่องจักรอย่างต่อเนื่องเป็นระบบในลักษณะ ที่เพิ่มประสิทธิภาพ ลดความสำคัญของพลังกล้ามเนื้อ และถือได้ว่าเป็นการรวบรวมเครื่องมือต่างๆ มาทำงานแบบรวมหมู่ เหมือนกับที่รวบรวมคนมาทำงานรวมหมู่
• เป้าหมายในการใช้เครื่องจักร ในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตคือ
1. ทำให้สินค้าถูกลงเพราะลดปริมาณแรงงานที่ใช้สร้างสินค้าแต่ละชิ้น
2. เพิ่มมูลค่าส่วนเกินต่อหัวคนงาน โดยลดชั่วโมงการทำงานที่ใช้ในการผลิตมูลค่ายังชีพพื้นฐาน และเพิ่มสัดส่วนเวลาที่คนงานทำงานฟรีให้นายทุน
การวิวัฒนาการของสังคมยุโรป ต.ต.
1. จากหัตถกรรม => อุตสาหกรรมเล็ก => อุตสาหกรรมใหญ่
2. จากเครื่องมือ => เครื่องจักร => ระบบเครื่องจักร
ต้องอาศัยการพัฒนาทั้ง คน และเทคโนโลจี ของทั้งสังคม (ฐานวัตถุ) ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการผลิตของสังคม (โครงสร้างส่วนบน)
• เครื่องจักรไม่ได้สร้างมูลค่า
• มูลค่าของเครื่องจักรคือปริมาณแรงงานในอดีตที่ใช้สร้างมัน
• มูลค่าสินค้าที่ใช้เครื่องจักรใหญ่ = ปริมาณแรงงานที่มีชีวิต + สัดส่วนมูลค่าเครื่องจักรที่ค่อยๆละลายไปใน ผลผลิตตามอายุการทำงานของเครื่องจักร
• ถ้าเครื่องจักรใช้ทดแทนคนงาน หรือใช้ผลิตสินค้าเร็วขึ้น ผลคือปริมาณแรงงานที่มีชีวิตในสินค้าแต่ละชิ้นนั้นลดลง และมูลค่าเครื่องจักรเพิ่มขึ้นในเชิงเปรียบเทียบ (ทุนคงที่เพิ่มเร็วกว่าทุนแปรผัน) และมูลค่าสินค้าทั้งหมดลดลง
• ถ้าค่าซื้อเครื่องจักร สูงกว่า ค่าจ้างแรงงานที่ถูกทดแทนและตัดออกไป มันไม่คุ้มในระยะสั้น
ผลของเครื่องจักรต่อคนงาน
1. เนื่องจากลดความสำคัญของพลังกล้ามเนื้อ จ้างเด็กและสตรีได้ นำไปสู่การทำลายชีวิตเด็ก เด็กถูกขาย และแม่ไม่มีเวลาดูแลเด็กเล็ก[1]
2. ก่อให้เกิดแรงกดดันให้ยืดชั่วโมงการทำงานต่อวันเพราะ
• จะได้ใช้เครื่องจักรให้คุ้มกับมูลค่าที่ใช้ซื้อในเวลาที่น้อยที่สุด
• เพื่อเร่งผลิตสินค้าก่อนที่เครื่องจักรรุ่นใหม่จะวางตลาด หรือคู่แข่งจะซื้อเครื่องจักรประเภทเดียวกัน
“ในระบบทุนนิยมเครื่องจักรลดชั่วโมงการทำงานของ มนุษย์ได้ แต่กลับถูกใช้เพื่อเพิ่มการทำงานของคนที่มีงานทำ พร้อมกับบังคับให้คนงานอีกส่วนตกงาน”
(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/07/4-15.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น