หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ส่อ"ถอย"อีก

ส่อ"ถอย"อีก

 

 

โดยส่วนตัวอยากจะเห็นการลงประชามติ วัดใจคนไทยไปเลยว่า จะเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ทั้งฉบับ ยกเว้นหมวดพระมหากษัตริย์ หรือไม่

เพราะจะทำให้หลายเรื่องชัดเจนขึ้น

ถ้า เห็นชอบ ก็สามารถเดินหน้ารื้อรัฐธรรมนูญที่เป็นผลพวงการรัฐประหารได้โดยไม่ต้องกังวล กับขบวนการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ จากใครหรือฝ่ายใดอีก

ใครขัดขวางก็เท่ากับไม่เคารพประชามติของประชาชน
เช่นกัน ในกรณีประชามติไม่ผ่าน 

พรรคเพื่อไทยก็ต้อง "ถอย" ไม่ผลักดันเรื่องนี้อีก
ประชามตินอกจากจะทำให้เรื่องรัฐธรรมนูญชัดเจนแล้ว
ที่จะทำให้ชัดเจนอีกประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือ จะได้พิสูจน์ว่า รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ในใจของชาวบ้านอย่างที่อ้างหรือเปล่าซึ่งจะให้นัยยะทางการเมืองสูงยิ่ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อลงสู่รายละเอียด พบว่าเรื่องประชามติไม่ง่ายอย่างที่คิด เดิมไปคิดถึงเฉพาะการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550

ซึ่งตอนนั้นผู้มีสิทธิออกเสียงมี 45,092,955 คน
มาใช้สิทธิ 25,978,954 คน หรือ 57.61%
เห็นชอบ 14,727,306 คน 56.69%
ไม่เห็นชอบ 10,747,441 คน 41.37%
และ อย่างที่ทราบกัน คนอีสานที่มาใช้สิทธิ 8,350,677 คน หรือ 54.39% เห็นชอบ 3,050,182 หรือ 36.53% น้อยกว่าไม่เห็นชอบ 5,149,957 หรือ 61.67%

รัฐธรรมนูญ ปี 2550 จึงไม่ได้เป็นฉันทามติร่วมกันของคนทั้งประเทศ

เสียงเห็นชอบก็ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
แต่ตอนนั้น ยึดหลักเพียงเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบก็ถือว่าผ่าน
รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 จึงถือว่าได้รับความเห็นชอบ

ซึ่ง แตกต่างจากตอนนี้ เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 165 (2) ระบุว่า การออกเสียงประชามติ จะมีข้อยุติโดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ

นั่นก็หมายความว่า หากผู้มีสิทธิลงประชามติ มีจำนวน 45 ล้านคน ประชามติจะต้องได้เสียงสนับสนุนถึง 23 ล้านคน
สูงลิบลิ่ว

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342972130&grpid=03&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น