หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัญญาณการปรองดอง

สัญญาณการปรองดอง

 

โดยสุชาติ ศรีสุวรรณ

 

ถ้ามอง "ปรองดอง" ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเรียกร้องต้องการ เป็นเรื่องระหว่าง "อำนาจเดิม" ที่ยังมีบทบาทและอิทธิพลสูงยิ่งกับความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม กับ "อำนาจจากประชาธิปไตย" ซึ่งค่อยๆ เข้ามามีบทบาทแท น ด้วยกระแสที่แรงขึ้นเรื่อยๆ

"อำนาจเดิม" ประกอบด้วยผู้มีบารมีนอกระบบ แต่มีอิทธิพลต่อกลไกราชการ โดยเฉพาะทหาร และองค์กรอิสระ มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายการเมืองที่เสนอตัวให้เลือกใช้

"อำนาจจากประชาธิปไตย" ซึ่งก็คือพรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก ขณะนี้ก็คือพรรคเพื่อไทย

และหากมองว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดี "ล้มล้างการปกครอง" ที่เพิ่งผ่านมา เป็นการแสดงท่าทีของ "ฝ่ายอำนาจเดิม"

ก็ น่าจะเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะว่าท่าทีดังกล่าวชัดเจนว่า "อำนาจเดิม" ยอมให้พรรคเพื่อไทยบริหารประเทศต่อไป ด้วยการยกคำร้อง

แต่ มีเงื่อนไขว่าเป็นคำเตือนว่าจะต้องอยู่ในกรอบกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ซึ่ง "อำนาจเดิม" ยังควบคุมพฤติกรรมการบริหารประเทศได้ด้วยอำนาจของ "องค์กรอิสระ" ทั้งหลาย

ไม่ใช่การเลือกใช้ "พรรคประชาธิปัตย์" เหมือนที่ผ่านมา

การเลือกให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศในเงื่อนไขต้องเป็นไปตามกติกาที่อำนาจเดิมกำหนด ถือเป็นการ "ปรองดอง" ระดับหนึ่ง

จากความชัดเจนนี้ ทำให้ "รัฐบาลพรรคเพื่อไทย" ต้องกำหนดยุทธศาสตร์อย่างรอบคอบยิ่ง

ทางแรก รับภาพ "ตัวเลือก" ของ "อำนาจเดิม" เพื่อรักษา "ความเป็นผู้กุมอำนาจรัฐ" ไว้ แม้จะต้องอยู่ในกติกาที่ตัวเองกำหนดไม่ได้

ทาง ที่สองคือ "แตกหัก" ไม่ยอมรับการขึ้นอยู่กับ "กติกา" ที่เอื้อต่ออิทธิพลของ "อำนาจเก่า" ที่จะเข้ามามีบทบาทควบคุมรัฐบาลอย่างเข้มข้น

การจะเลือกเดินทางใด จำเป็นจะต้องวิเคราะห์ถึงพลังทางสังคมอย่างละเอียด

แม้ จะได้รับการเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น แต่จริงหรือไม่ว่าหากเดินไปในทางแตกหัก หาญสู้กับอิทธิพลของอำนาจเดิมแบบแพ้ชนะกันไปข้าง แล้วพรรคเพื่อไทยจะชนะได้

ถ้ายังไม่เห็นทางชนะ การยอมรับการเป็น "ตัวเลือก" แล้วค่อยๆ หาทางเคลียร์ทีละเรื่อง จะเป็นทางออกที่ดีกว่าหรือไม่

"อยู่ในอำนาจไว้ก่อน" อย่างอื่นค่อยๆ เคลียร์


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342972691&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น