หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แอมเนสตี้ชี้การละเมิดต่อชาวโรฮิงญาบั่นทอนความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน

แอมเนสตี้ชี้การละเมิดต่อชาวโรฮิงญาบั่นทอนความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน

 

โรฮิงญามุสลิมพยายามข้ามแม่น้ำนาฟไปยังฝั่งบังกลาเทศ เพื่อหลบหนีความรุนแรงในรัฐยะไข่หรือ ระไค (Rakhine) ในภาพวันที่ 13 ก.ค.2555 แต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ให้ขึ้นฝั่ง แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้บังดลาเทศเปิดประตูรับคนเหล่านี้ก็ตามวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมาบังกลาเทศได้ผลักไสเรือของชาวโรฮิงญากว่า 660 คนออกไป ปัจจุบันในประเทศนี้มีผู้ลี้ภัยชาวอิสลามชนชาตินี้นับแสนคนอยู่แล้ว เกือบทั้งหมดอยากกลับเข้าไปในพม่าอันเป็นถิ่นกำเนิด. -- AFP PHOTO/Munir uz ZAMAN.


เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 55 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ พม่า: การละเมิดต่อชาวโรฮิงญาบั่นทอนความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แถลงการณ์

20 กรกฎาคม 2555

พม่า: การละเมิดต่อชาวโรฮิงญาบั่นทอนความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชน 

หกสัปดาห์หลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในรัฐยะไข่ของพม่า การโจมตีและการละเมิดของกองกำลังความมั่นคงต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาและชาว มุสลิมเชื้อชาติอื่น ๆ ยังเพิ่มขึ้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในวันนี้

ความรุนแรงระดับชุมชนในรัฐดังกล่าวก็ยังดำเนินต่อไปเช่นกันแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว

“การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ใช่ใบอนุญาตให้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน” เบนจามิน ซาวัคกี้ (Benjamin Zawacki) นักวิจัยด้านพม่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว “กองกำลังความมั่นคงมีหน้าที่ปกป้องสิทธิของทุกคน โดยไม่มีข้อยกเว้นและไม่แยกแยะ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ และกองกำลังความมั่นคงจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนเองด้วย

รัฐบาลพม่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในรัฐยะไข่เมื่อวันที่ 10 มิถุนายนหลังเกิดความรุนแรงระดับชุมชนที่แพร่ไปในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เป็นการปะทะกันระหว่างชาวยะไข่พุทธ ชาวยะไข่มุสลิม และชาวโรฮิงญามุสลิม ในหลายพื้นที่ยังคงมีความรุนแรงเช่นนั้นอยู่

นับแต่นั้นมา กองกำลังรักษาความมั่นคงชายแดน (nasaka) กองทัพและตำรวจก็ยังคงดำเนินการกวาดล้างอย่างหนักในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา มีการควบคุมตัวบุคคลซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายและเด็กผู้ชายหลายร้อยคน และถูกกีดกันไม่ให้ติดต่อกับโลกภายนอก หรือมีการปฏิบัติอย่างโหดร้าย

แม้ว่าการพยายามรักษาความสงบเรียบร้อยและการปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็น เรื่องจำเป็น แต่ดูเหมือนว่าการจับกุมส่วนใหญ่เป็นการกระทำตามอำเภอใจและเลือกปฏิบัติ ละเมิดสิทธิที่จะมีอิสรภาพและเสรีภาพจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลด้านศาสนา

“ในช่วงเวลาหกสัปดาห์ พม่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบที่เคยทำมาต่อชาวโรฮิงญา และยังหวนกลับไปสู่การควบคุมตัวบุคคลด้วยเหตุผลทางการเมือง” ซาวัคกี้กล่าว 

(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น