หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โต้แย้ง "กม.มั่นคง" ก่อนม็อบจบ "ฉุกเฉิน"

โต้แย้ง "กม.มั่นคง" ก่อนม็อบจบ "ฉุกเฉิน"


ควันโขมงจากแก๊สน้ำตา คลุ้งไปทั่วบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนิน นั่นคือภาพที่คนไทยได้เห็นผ่านจอทีวี เมื่อวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาล ในนาม กลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) พยายามใช้เส้นทางถนนราชดำเนินนอก ผ่านสะพานมัฆวานฯไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า

รัฐบาลรับมือม็อบเที่ยวนี้ ด้วยการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือ "พ.ร.บ.ความมั่นคง"

ด้วย เหตุผลว่า ข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองระบุว่า อาจเกิดเหตุการณ์ อาทิ การ ก่อเหตุรุนแรงถึงขั้นก่อจลาจล การบุกเข้าสถานที่ราชการ หรือแม้แต่การบุกจับตัวนายกรัฐมนตรี ฯลฯ

นำมาสู่การประกาศใช้ "พ.ร.บ.ความมั่นคง" ครอบคลุมพื้นที่ 3 เขตของกรุงเทพ มหานคร ได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งแต่วันที่ 22-30 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

ลองมาฟังเสียงสะท้อนของนักวิชาการที่มีต่อ พ.ร.บ. ที่รัฐบาลประกาศใช้นี้ ขอหมายเหตุไว้ด้วยว่า เป็นการสัมภาษณ์ความเห็นล่วงหน้า ก่อนเหตุการณ์วันเสาร์จะเกิดขึ้น

สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลเชื่อว่าคุมสถานการณ์ได้ ก็ต้องคุมไว้ก่อน

ไม่ใช่จู่ๆ ก็ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ควรดูสถานการณ์ เพื่อประกาศให้เหมาะกับเวลา

ถ้า คิดว่าประกาศเพื่อเป็นการป้องกัน คนจะกลัวและจะไม่มาเข้าร่วม แต่ที่ผ่านมาทุกๆ รัฐบาลที่ประกาศใช้กฎหมายประเภทนี้ ไม่เคยหยุดการชุมนุมได้

มิหนำซ้ำยังเป็นการจุดประเด็นเพิ่ม หรือเป็นการเรียกแขกมากกว่า

"ผล เสียที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าคือ ทำให้ภาพของกรุงเทพฯทรุดไป ต่างประเทศเขาไม่ได้ห่วงเรื่องการชุมนุม เพราะเขามองว่าการชุมนุมเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามรัฐบาลออกมาตรการอย่างนี้ เท่ากับรัฐบาลยอมรับว่าการชุมนุมได้ยกระดับขึ้นเป็นปัญหาทางการเมืองที่มี ความสำคัญ" สุรชาติกล่าว

ด้าน สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง ตราบเท่าที่การชุมนุมยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการใช้ความรุนแรง หรือส่งผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของคนทั่วไป

ทั้งยังเกรงว่า การทำแบบนี้จะกลายเป็นการสร้างวัฒนธรรมการบังคับใช้กฎหมายเมื่อมีการชุมนุมอย่างพร่ำเพรื่อ

เพราะ กฎหมายความมั่นคง หรือกฎหมายพิเศษอื่นๆ จะมีประเด็นที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอยู่พอสมควร ฉะนั้น เวลาประกาศใช้จะต้องระมัดระวัง

"การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง กระทบต่อภาพพจน์ บรรยากาศความเป็นประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ความเคลื่อนไหวยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่าข่าวปั้นหรือข่าวจริง แต่ตอนนี้รัฐบาลประกาศไปแล้ว"

"อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะช่วยได้อย่างหนึ่ง คือ รัฐบาลพยายามใช้อำนาจในช่วงนี้ให้โปร่งใสมากที่สุด เช่น ข้อเสนออันหนึ่งที่รัฐบาลจะทำ และผมเห็นด้วย คือ เชิญตัวแทนจากองค์กรต่างๆ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าร่วมสังเกตการณ์การทำงานของรัฐบาล" สมชายกล่าว

 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353814120&grpid=&catid=12&subcatid=1200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น