คนงานเหมาค่าแรงในภาคตะวันออกยังไม่ยอมจำนน …และเขาพร้อมแล้วที่จะชักธงรบ
บุญยืน สุขใหม่
ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
24 พฤศจิกายน 2555
ในช่วงฤดูกาลนี้ของทุกปีตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นช่วงที่สหภาพแรงงานจำนวนมากครบกำหนดยื่นข้อเรียก ร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสภาพการจ้างให้กับสมาชิกสหภาพแรงงาน และคนงานประจำทั้งหลายในส่วนที่ยังไม่มีสหภาพแรงงานและไม่ได้เป็นสมาชิก สหภาพแรงงานก็ได้รับผลพลอยได้หรือผลประโยชน์ตามสมควรกับสถานะของสถานประกอบ การที่ตนเองทำงานอยู่ แต่ ณ อีกมุมหนึ่งของโรงงานมีแรงงานอีกจำนวนมากที่ทุกคนรู้จักเขาดีในนามของ พนักงาน “ซับคอนแทรค” หรือในภาษาวิชาการเรียกเขาเหล่านั้นว่า “ลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรง” เขาเหล่านั้นไม่กล้าแม้แต่จะคิดว่าจะได้โบนัสหรือสวัสดิการอะไรเพิ่มขึ้น บ้างนอกจ้างค่าจ้าง 300 บาทตามนโยบายของรัฐบาล แต่มันก็ไม่สมดุลกับค่าของชีพ ณ ปัจจุบันที่ถีบตัวสูงขึ้น
ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
24 พฤศจิกายน 2555
ในช่วงฤดูกาลนี้ของทุกปีตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นช่วงที่สหภาพแรงงานจำนวนมากครบกำหนดยื่นข้อเรียก ร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสภาพการจ้างให้กับสมาชิกสหภาพแรงงาน และคนงานประจำทั้งหลายในส่วนที่ยังไม่มีสหภาพแรงงานและไม่ได้เป็นสมาชิก สหภาพแรงงานก็ได้รับผลพลอยได้หรือผลประโยชน์ตามสมควรกับสถานะของสถานประกอบ การที่ตนเองทำงานอยู่ แต่ ณ อีกมุมหนึ่งของโรงงานมีแรงงานอีกจำนวนมากที่ทุกคนรู้จักเขาดีในนามของ พนักงาน “ซับคอนแทรค” หรือในภาษาวิชาการเรียกเขาเหล่านั้นว่า “ลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรง” เขาเหล่านั้นไม่กล้าแม้แต่จะคิดว่าจะได้โบนัสหรือสวัสดิการอะไรเพิ่มขึ้น บ้างนอกจ้างค่าจ้าง 300 บาทตามนโยบายของรัฐบาล แต่มันก็ไม่สมดุลกับค่าของชีพ ณ ปัจจุบันที่ถีบตัวสูงขึ้น
หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540
ได้มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
กฏหมายได้บัญัติให้มีการจ้างงานในระบบเหมาค่าแรงได้เพื่อเป็นการลดต้นทุนให้
กับนายจ้าง
โดยที่ภาครัฐเองไม่ได้ตระหนักว่าคุณภาพชีวิตของกรรมกรไทยจะเป็นอย่างไรใน
อนาคต
หลังจากนั้นขบวนการแรงงานไทยจากหลายภาคส่วนได้พยายามที่จะขับเคลื่อนและผลัก
ดันให้แรงงานในระบบเหมาค่าแรงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงาน
ประจำ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี 2548-2551
ได้มีการรณรงค์กดดันทั้งในส่วนของการผลักดันกฏหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2550
ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับการจ้างงานไว้ในมาตรา 84(7) บัญญัติว่า “ส่ง
เสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี
จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน
จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ”
หลังจากนั้นการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 บัญญัติไว้ในมาตรา 11/1 บัญญัติว่า “ใน
กรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน
อันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน
โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิด
ชอบของผู้ประกอบกิจการ
และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้าง
ให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตามให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของ
คนที่มาทำงานดังกล่าว
ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานใน
ลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง
ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ”
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น