ของขวัญปีใหม่
โดย อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
ในท่ามกลางความขัดแย้งถึงขั้นใช้อาวุธต่อกันอย่างรุนแรงใน
ภาคใต้ตอนล่าง และระหว่างสีในประเทศไทยโดยรวม
ของขวัญปีใหม่ที่คนไทยอยากได้ที่สุดน่าจะเป็นความสงบสันติ แต่
ดูจะเป็นของขวัญที่ไกลสุดเอื้อม
ผมไม่มีสติปัญญาพอจะมอบของขวัญอันมีค่าขนาดนี้ได้
แต่อยากมอบของขวัญชิ้นเล็กๆ กว่านั้นแยะ แต่ผมคิดว่าสำคัญ
นั่นคือ
การมองปัญหาความขัดแย้งให้ซับซ้อนกว่าที่เคยมองมา
และด้วยเหตุดังนั้นจึงมองทางออกซับซ้อนกว่าที่เคยมองมาด้วย
กล่าวคือไม่ใช่ความขัดแย้งของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้น
และด้วยเหตุดังนั้น การแก้ปัญหาจึงไม่ใช่แค่การจับเข่าคุยกัน
ไม่ว่าจะที่ดูไบ หรือที่มาเลเซีย รวมทั้งอาจไม่ต้องเดินไปหนทาง
"ความจริง-ความยุติธรรม-การให้อภัย-ความปรองดอง" ด้วย
ไม่ใช่เพราะเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ไม่ถูกต้อง
แต่เพราะเป็นเส้นทางที่น้อยสังคมจะเลือกเดินได้
แม้แต่ในสังคมที่เลือกเดินไปแล้ว ก็ไม่ใช่เพราะ "เลือก" แท้ๆ
แต่มีปัจจัยอื่นผลักดันอยู่ด้วย
มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย มีโครงการวิจัยใหญ่อันหนึ่งชื่อ "เปรียบเทียบการสร้างสันติภาพ"
ซึ่งเกิดขึ้นหลายแห่งในโลก
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ออกมาชิ้นแรกคือกรณีศึกษาอินโดนีเซีย (John Braithwaite,
et.al., Anomie and Violence, Non-Truth and Reconciliation in Indonesian
Peacebuilding)
ทำไมถึงต้องเป็นอินโดนีเซีย
คำตอบก็เพราะความขัดแย้งในอินโดนีเซียนั้นซับซ้อนหลากหลายมาก
มีทั้งที่เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์, หรือเกิดจาก
"คำสาปของทรัพยากร" คือเพราะมีทรัพยากรมากจึงทำให้เกิดความขัดแย้ง
และสนับสนุนให้ความขัดแย้งสามารถดำรงอยู่หรือรุนแรงขึ้นได้ทุกฝ่าย,
หรือความขัดแย้งระหว่างศาสนาและอัตลักษณ์, หรือการแยกดินแดน,
หรือความขัดแย้งระหว่างชนชั้น, หรือการแย่งอำนาจระหว่างกลุ่มการเมือง ฯลฯ
และเอาเข้าจริง ในทุกๆ ความขัดแย้งก็มีปัจจัยมากกว่าหนึ่งเสมอ
จึงทำให้ซับซ้อนมาก
หลังการลาออกและการพังทลายของระบอบเผด็จการซูฮา
ร์โต อินโดนีเซียก็ย่างเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่า Anomie
หมายถึงสภาวะที่ปราศจากความเชื่อฟังต่อ "ประชาวิถี" ซึ่งรวมถึงกฎหมาย,
ประเพณี, และอาชญาสิทธิ์ทั้งปวง
ความตายอันเนื่องมาจากการก่อการร้ายเพิ่มขึ้นจาก 9 รายใน พ.ศ.2541
(เมื่อซูฮาร์โตประกาศลาออก) เป็น 233 รายใน พ.ศ.2545 แต่พอถึง พ.ศ.2551
การตายจากเหตุก่อการร้ายเหลือสูญราย ไม่เฉพาะแต่การก่อการร้าย
แต่รวมถึงสถิติอาชญากรรมอื่นๆ ด้วย
ในปัจจุบันสถิติฆาตกรรมในอินโดนีเซียลดลงเหลือเพียง 1 ต่อ 100,000 ราย
ซึ่งต่ำกว่าทุกประเทศในยุโรป มีสถิติการติดคุกต่ำสุดในโลกคือ 28 ต่อ
100,000 ฯลฯ
จากประเทศที่เต็มไปด้วยความรุนแรงและการก่อการร้าย กลายเป็นประเทศที่สงบเกือบที่สุดในโลกภายในระยะเวลาเพียงทศวรรษเดียว
แต่
ในขณะเดียวกัน การเมืองอินโดนีเซียในทศวรรษนี้
คือการก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยจากเบื้องล่างที่รวดเร็วมาก
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง อาจไม่สามารถคุมกองทัพได้สมบูรณ์
แต่ก็คุมได้มากขึ้น เช่นถอนคนของกองทัพออกไปจากผู้ว่าฯ, นายอำเภอ, และกำนัน
ได้หมด ทุกตำแหน่งมาจากการเลือกตั้งท้องถิ่น
และดังนั้นข้อสรุปอันแรกที่เห็นได้ชัดก็คือ การล่มสลายของระบอบเผด็จการ
และการเป็นประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ ย่อมนำมาซึ่งสภาวะที่ปราศจาก "ประชาวิถี"
บท
เรียนนี้มีความสำคัญแก่ไทยอย่างมาก เพราะชนชั้นนำไทยรู้ว่า
เราไม่อาจหวนกลับไปสู่ระบอบเผด็จการอย่างสฤษดิ์-ถนอม-ประภาสได้แล้ว
แต่หากปล่อยให้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ บ้านเมืองก็จะปั่นป่วนวุ่นวาย
(anomie) จึงควรเป็นประชาธิปไตยแค่ครึ่งใบ
บทเรียนจากอินโดนีเซียชี้
ว่าเป็นความเข้าใจผิด
ประชาธิปไตยครึ่งใบนั่นแหละที่เป็นตัวนำความปั่นป่วนวุ่นวายมาให้มากเท่ากับ
การพังทลายของระบอบเผด็จการ แต่ประชาธิปไตยเต็มใบต่างหาก
ที่อาจนำมาซึ่งการไม่ใช้ความรุนแรงจัดการกับความขัดแย้งได้
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356922706&grpid=&catid=12&subcatid=1200