หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นักโทษทางการเมือง ความคิดต่างที่ต้องโทษ

นักโทษทางการเมือง ความคิดต่างที่ต้องโทษ



เพื่อนอันวาร์ - Save Anwar
ทำความรู้จักกับอันวัรและคดีของเขาได้
http://www.deepsouthwatch.org/node/4231

รายงาน: Save ‘Anwar’ ผู้ปลุกชีวิตมลายู ปลดเงื่อนไขความรุนแรง
http://prachatai.com/journal/2013/05/46736 

Anwar Bungaraya pasti bersemi di Patani 1
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=bRjq5PhK1ow
Anwar Bungaraya pasti bersemi di Patani 2
Anwar Bungaraya pasti bersemi di Patani 3
Anwar Bungaraya pasti bersemi di Patani 4
Anwar Bungaraya pasti bersemi di Patani 5
Anwar Bungaraya pasti bersemi di Patani 6
Anwar Bungaraya pasti bersemi di Patani 7
Anwar Bungaraya pasti bersemi di Patani 8
Anwar Bungaraya pasti bersemi di Patani 9
https://www.youtube.com/watch?v=3Y_ZaKraLCc  
  
หลังจากวันที่ 1 พ.ค. 2556 โลกออนไลน์โดยเฉพาะสังคม facebook เริ่มมีการเคลื่อนประเด็นที่ศาลฎีกา พิพากษาลงโทษจำคุก 12 ปี ฐานเป็นกบฏและสมาชิกขบวนการ BRN Coordinate ต่อนายมะกอรี และพวกรวม 9 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีนายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ นักสื่อสารภาคประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนใต้ (ปาตานี) หรือเป็นเจ้าของบล็อกคอลัมน์ Patani Design ในเว็บศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW)[1]  

กระแสการรณรงค์เริ่มขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วผ่านเพจ “เพื่อนอันวาร์ Save Anwar” ซึ่งเป็นเพจที่สร้างความกังวลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในคำตัดสิน จนทำให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าต้องออกมาแถลงถึงกรณีที่ศาลฎีกาตัดสินเช่นนี้ว่าเพราะเหตุใด[2]  

บทสรุปสุดท้ายในคำพิพากษาศาลฎีการะบุว่า ศาลเชื่อว่าจำเลยเป็นสมาชิกขบวนการแบ่งแยกดินแดน BRN Coordinate จริง[3] เรา เคารพในคำตัดสิน แต่ไม่ได้แสดงว่าเรายอมรับการกระทำผิดซึ่งหน้า มิได้แสดงว่าเมื่อคิดต่างจากรัฐแล้ว จะต้องเข้าไปเป็นสมาชิก BRN หรือองค์กรใด แต่มันสะท้อนให้เห็นว่าเรามีความผิดที่คิดต่างทางการเมืองกับรัฐไทย  

การคิดเห็นต่างทางการเมือง แล้วแสดงออกโดยการสื่อสารทั้งการสื่อสารแบบเก่าหรือแบบใหม่ หรือแสดงออกโดยวิธีการไม่เสียเลือดเนื้อของผู้คน การถ่ายทอดออกมาในรูปแบบสันติวิธีทั้งหลายเหล่านี้ เรากระทำโดยมิได้ผิดต่อหลักกฎหมายบ้านเมือง หรือข้อห้ามแต่อย่างใด ในทางกลับกันลองพลิกดูนโยบายการแก้ปัญหาภาคใต้ของ สมช. ที่เป็นตัวแทนของรัฐไทยที่ไปนั่งเก้าอี้พูดคุยบนโต๊ะเจรจากับ BRN ที่ มาเลเซีย นั้นเขียนระบุไว้อย่างไร ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 8 ที่ว่าด้วยการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการพูด คุย หลักประกันการเข้ามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และในข้อที่ 2 ที่ระบุว่า ส่งเสริมกระบวนการพูดคุยกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นและอุดมการณ์แตกต่างจากรัฐ 

กรณีศึกษาจากการตัดสินจำคุก 12 ปี นายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะและพวกอีก 9 คน ที่มีการซัดทอดว่าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRN แต่มิได้มีความผิดฐานการกระทำผิดซึ่ง หน้า หรือคดีฆ่าตัดคอตามที่เป็นข่าว หากมองขึ้นไปที่นโยบายข้างต้น แทบไม่มีประโยชน์ที่จะออกแถลงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาใต้ หากในทางปฏิบัติของหน่วยงานรัฐต่างๆ ไม่นำไปปฏิบัติตาม  

นักโทษทางความคิด คิดต่างทางการเมือง ที่มาจากความเป็นอยู่ ภาษา วัฒนธรรม การศึกษา ศาสนา ที่ต่างกัน รัฐไทยคงจะต้องสร้างที่กักขังอีกหลายแห่งเพื่อรองรับบุคคลที่มีความเห็นต่าง กลุ่มนี้ คงมิได้มีแต่เพียง อันวาร์ และเพื่อนอันวาร์เท่านั้น  

สิ่งที่จำเป็นระดับระดับต้น ไม่ใช่นโยบายที่สวยหรู ไม่ใช่การประดิษฐ์คิดวาทกรรมทางการเมืองใหม่ๆ ออกมาผ่านนโยบายแถลงของรัฐ สิ่งที่รัฐไทย แม้จะนำโดยพรรคใดก็ตาม ต้องคำนึงคือ “ยอมรับ” ในความต่าง ในทุกๆ บริบทของชาวปาตานี ซึ่งมันจะสะท้อนถึงอุดมการณ์แนวคิดคนละขั้วจากความเป็นสยามออกมา  

ท่านผู้ปกครองที่ใช้กฎหมาย มีอำนาจในมือ ปลายปากกา และกระบอกปืน สันติภาพที่สันติสุข สังคมไร้ซึ่งเสียงกระสุน เสียงดังของระเบิดจะไม่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าจะจับกุม ควบคุมแนวร่วม แกนนำของขบวนฯ BRN ตัวจริงหรือเทียม มากเพียงใดก็ตาม เพราะสังคมเมอลายูปาตานีคงไม่มีวันที่จะเปลี่ยนสีฐานความคิด ฐานทางสังคม วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา ให้กลายหรือเหมือนผู้ปกครองอย่างรัฐไทยได้ ผู้ปกครองควรจักต้องเข้าใจ ยอมรับ รับฟัง ให้มากกว่าเดิมหลายเท่า และอย่าได้พยายามเปลี่ยนสีฐานความคิด หรือป้ายสีชาวเมอลายูปาตานี  

เรายอมรับในความต่างที่คุณเป็นสยาม แต่เราไม่ยอมนอบน้อมในความอธรรมและอยุติธรรมจากการกระทำจากผู้ปกครอง 

เมอลายูปาตานีจะไม่เลือนหายจากแผนที่แห่งความคิด เราจักรักษามันให้คงอยู่ เราจักปกป้องให้มันคงไว้ โดยวิถีสันติ มิใช่ความก้าวร้าว 
 
(ที่มา)
http://www.southpeace.go.th/th/News/explain/news-560507-3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น