หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

อ็อกแฟมเผยคนรวยสุดในโลก 85 คน มีทรัพย์สินเท่าคนจนสุด 3.5 พันล้านคนรวมกัน

อ็อกแฟมเผยคนรวยสุดในโลก 85 คน มีทรัพย์สินเท่าคนจนสุด 3.5 พันล้านคนรวมกัน

 

 
File:Occupy Oakland 99 Percent signs.jpg
Oxfam: 85 richest people as wealthy as poorest half of the world
http://www.theguardian.com/business/2014/jan/20/oxfam-85-richest-people-half-of-the-world


องค์กรเพื่อการขจัดความยากจนระบุในรายงานว่า กลุ่มคนร่ำรวยที่สุดในโลกที่มีทรัพย์สินรวม 110 ล้านล้านดอลลาร์ และพยายามใช้อิทธิพลเพื่อแก้กติกา ลดภาษี แทรกแซงการเมือง ทำให้ความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นอีก โดยการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจเช่นนี้จะส่งผลต่อปัญหาเรื่องเสถียรภาพและความ ไม่สงบในสังคม


20 ม.ค. 2557 องค์กรอ็อกแฟม อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งมีเป้าหมายในการขจัดปัญหาความยากจนและความไม่เป็นธรรม ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2555-2556 เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาระบุว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ด้านรายได้มาจากการพยายามยึดกุมอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำที่มีความร่ำรวยเพียง ไม่กี่คน



รายงานขององค์กรอ็อกแฟมระบุว่า กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 85 คน สามารถรวบรวมความมั่งคั่งได้อย่างมหาศาล เทียบกับประชากรยากจนของโลกรวมกัน 3,500 ล้านคน โดยกลุ่มคนร่ำรวยร้อยละ 1 ของโลกมีทรัพย์สินอยู่มากถึง 110 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 3,600 ล้านล้านบาท) ซึ่งมากกว่าประชากรยากจนที่สุดครึ่งหนึ่งของโลก 65 เท่า

ทางองค์กรอ็อกแฟมเกรงว่าการรวบรวมทรัพยากรทางเศรษฐกิจแบบกระจุกตัวเช่น นี้อาจส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองและความไม่สงบในสังคม

การเผยแพร่รายงานดังกล่าวมีขึ้นไม่นานก่อนการประชุมสภาเศรษฐกิจโลกที่ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันพุธที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นการประชุมของกลุ่มผู้มั่งคั่งในการสัมมนาหารือเรื่องเศรษฐกิจโลกใน รีสอร์ทสกีสำหรับผู้มีเอกสิทธิ์เฉพาะ

"เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่ประชากรครึ่งหนึ่งของโลกคือประมาณ 3,500 ล้านคน มีทรัพย์สินรวมกันไม่มากเท่าชนชั้นนำไม่กี่คนที่มีจำนวนน้อยขนาดเข้าไปอยู่ รวมกันในรถบัสสองชั้นได้อย่างสบายๆ" วินนี เบียนยีมา ผู้อำนวยการบริหารของอ็อกแฟมที่มีแผนเข้าร่วมการประชุมที่ดาวอสกล่าว

องค์กรอ็อกแฟมกล่าวอีกว่า เรื่องความไม่เท่าเทียมกันนี้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเอง แต่เกิดขึ้นจากความพยายาม "ยึดกุมอำนาจ" ของเหล่าชนชั้นนำผู้ร่ำรวยไม่กี่คน โดยอาศัยกระบวนการทางการเมืองในการกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้ระบอบเศรษฐกิจเอื้อ ต่อผลประโยชน์ของตน ทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ของกลุ่มคนรวยและมีอำนาจสั่งสมกำลังทรัพย์ไว้ได้มาก ขึ้น และปัญหาความยากจนจะไม่มีวันหมดไปจนกว่าาปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทาง เศรษฐกิจจะได้รับการแก้ไข

องค์กรอ็อกแฟมได้ทำการสำรวจจากประชาชนทั่วโลกรวมถึงกลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 3 จากอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าคนรวยมีอิทธิพลต่อทิศทางของประเทศมากเกินไป กลุ่มคนที่คิดเห็นเช่นนี้มากที่สุดคือชาวสเปน ตามมาด้วยบราซิลและอินเดีย

เบียนยีมาอธิบายว่า ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา มีกลุ่มคนรวยและลูกหลานของกลุ่มคนรวยเท่านั้นที่มีอัตราการจ่ายภาษีต่ำสุด มีสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาและการสาธารณสุขที่ดีที่สุด และมีโอกาสในการสร้างอิทธิพล ถ้าหากไม่มีการแก้ไขปัญหาความเท่าเทียม ก็จะทำให้เกิดกลุ่มผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์และผู้เสียเปรียบในสังคมรุ่นต่อไป จนเรื่องความเท่าเทียมด้านโอกาสเป็นเพียงแค่ความฝัน

รายงานของอ็อกแฟมระบุอีกว่าในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา กลุ่มคนรวยใช้อิทธิพลทางการเมืองในการบิดเบือนนโยบายให้เอื้อประโยชน์แก่ตน เองในด้านต่างๆ ตั้งแต่การผ่อนคลายกฎระเบียบทางการค้า แหล่งหลบเลี่ยงภาษี ต่อต้านการแข่งขันทางธุรกิจ ลดอัตราการจ่ายภาษีของผู้มีรายได้สูง และตัดงบประมาณบริการสาธารณะสำหรับคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา มี 29 ประเทศ จาก 30 ประเทศ ที่คนรวยมีอัตราภาษีลดลง

ในรายงานยังได้กล่าวถึงการยึดกุมโอกาสของคนรวยว่าได้ส่งผลถึงทั้งชนชั้น กลางและคนจน ทำให้ร้อยละ 70 ของประชากรโลกอยู่ในประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นนับตั้งแต่ทศวรรษ ที่ 1980

ก่อนหน้านี้รายงานเรื่องความเสี่ยงของโลก (Global Risks) ของที่ประชุมสภาเศรษฐกิจโลกเองก็ระบุว่าการที่ช่องว่างความไม่เท่าเทียมกัน เพิ่มมากขึ้น ถือเป็นภัยที่ใหญ่ที่สุดต่อประชาคมโลก

องค์กรอ็อกแฟมเรียกร้องให้สภาเศรษฐกิจโลกสนับสนุนการจ่ายภาษีในอัตราก้าว หน้าและไม่หลบเลี่ยงภาษีตนเอง, เลิกใช้ความร่ำรวยของตนในการสร้างแรงสนับสนุนทางการเมืองซึ่งจะเป็นการบ่อน ทำลายเจตจำนงประชาธิปไตยของประชาชน, มีการเปิดเผยเรื่องทุนและการลงทุนของบริษัทอันจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของ กิจการเอง, มีการท้าทายรัฐบาลให้ใช้ภาษีในการจัดการด้านสาธารณสุขแบบรอบด้าน ด้านการศึกษา และความปลอดภัยในสังคม, ให้ทุกบริษัทของพวกเขามีค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างดำรงชีวิต (living wage) และให้กลุ่มชนชั้นนำทางเศรษฐกิจรายอื่นๆ เข้าร่วมการปฏิญาณนี้

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/51295

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น