หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สิทธิพยาบาล "ส.ส.-ส.ว." หลักแสนบาท เรื่อง "เว่อร์" หรือ "จำเป็น" ???
 


















จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 เห็นชอบร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับการประกัน สุขภาพ (การรักษาพยาบาล) ของสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ... ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์และสิทธิค่ารักษาพยาบาลหลายรายการ อาทิ ค่ารักษาพยาบาลทั่วไปต่อครั้งได้ 100,000 บาท ค่าผ่าตัดต่อครั้งได้ 120,000 บาท และค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ 7,000 บาท

จากเดิมค่าใช้จ่ายต่อปีที่ 12.6 ล้านบาท เพิ่มมาเป็น 124.63 ล้านบาทต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 112 ล้านบาทต่อปี

ถูก วิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะ ส.ส.-ส.ว.มีเงินเดือนสูงอยู่แล้ว แต่ยังได้รับสิทธิรักษาพยาบาลในเกณฑ์ดี (มาก) อาจสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำ และขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 51 ที่ระบุบุคคลย่อมมีสิทธิในการได้รับการบริหารด้านสาธารณสุขอย่างเท่าเทียม มีคุณภาพและมาตรฐาน

"สัมพันธ์ ทองสมัคร" อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 13 สมัย ปัจจุบันนั่งเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษา ปชป.

เล่า ภาพความทรงจำเก่าๆ ของการทำหน้าที่ผู้แทนฯ ว่า ความยากลำบากและความอดทนต่างจากวันนี้อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะส.ส.ในยุคแรก หลายคนไม่ได้มีฐานะร่ำรวย มาจากชาวบ้าน บางคนเป็นครู เป็นชาวนา แต่อาสามารับใช้ประชาชน

"ผมเองก็เป็นครูโรงเรียนบ้านนอกใน อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี 2510 แล้วลาออกมาลงผู้แทนฯสมัยแรกปี 2518 ก็ไม่ได้บำเหน็จบำนาญข้าราชการ"
ส่วน เพื่อนและรุ่นพี่ ส.ส.หลายคนที่เขารู้จัก ก็มีฐานะยากจน ไม่มีธุรกิจส่วนตัว ถือกระเป๋าใบเดียวขึ้นรถไฟมา กทม. เขาจึงเห็นด้วยว่าอาชีพ "ผู้แทนฯ" ต้องได้รับสวัสดิการที่เหมาะสมจากรัฐ เพราะผู้แทนฯทำหน้าที่เพื่อประชาชน แม้ในยุคนี้ จะมีแต่ผู้แทนฯร่ำรวย บางคนก็ไม่ใช่สิทธิที่สภาจัดให้ ยอมควักเงินไปรักษากับโรงพยาบาลเอกชนเอง เพราะมีกำลัง

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324285406&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น