หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ดวงจำปา:ขยายความต่อ "กรณีประเทศไทยกับสาลอาญาระหว่างประเทศ"

Doungchampa Spencer


โดย ดวงจำปา
ที่มา เฟสบุค Doungchampa Spencer
19 ธันวาคม 2554



ใน ขณะนี้ ดิฉันเห็นการโพสต์หลายเรื่อง ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้เขียนบทความ ด้วยการนำเอาศัพท์ทางเทคนิคมาใช้ จนกลายเป็นเรื่องที่สร้างความงุนงงออกไป เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ขอสรุปแบบง่ายๆ นะคะ



ประวัติโดยสังเขป: ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรมไปเมื่อปี พ.ศ. 2543 แต่ยังไม่ได้เป็นรัฐภาคีโดยสมบูรณ์ เนื่องจากว่ายังไม่ได้ลงนามให้สัตยาบัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Ratification

เนื่องจากเหตุการณ์ที่มีผู้สูญเสีย ชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เมื่อเดือน เมษายน / พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2553 ระบบยุติธรรมของประเทศไทยก็ยังไม่มีการลงโทษผู้กระทำความผิดแต่ประการใด (นอกจากการตั้งขอหา ยัดเอาแกนนำ และ ประชาชนเสื้อแดงเข้าไปอยู่ในคุก) จนกระทั่งมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งนำโดย คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคนี้เข้าไป ก็ตั้งความหวังว่า จะได้รัฐบาลที่กระทำการปฎิบัติตามนิติรัฐและนำความยุติธรรมกลับคืนมาสู่ ประเทศ

สิ่งหนึ่งในความปรารถนาต่อความสงบสุขก็คือ การนำเอาระบบยุติธรรมของนานาชาติเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินพิจารณาคดีด้วย กล่าวคือ การลงนามอย่างเป็นทางการ (ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) ให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ

ขอย้อนอดีตกลับไปนิดหนึ่ง คือเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 ทนายความโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้ทำการถ่ายทอดวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเรื่องดำเนินการต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในข้อหาของเรื่องอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ


(อ่านต่อ)
http://thaienews.blogspot.com/2011/12/blog-post_3340.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น