หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

"แพะรับบาป"สนทนาว่าด้วยเรื่องแพะ แบร่ๆ เมื่อ"จำนวนแพะ"สะท้อนปัญหากระบวนการยุติธรรมไทย



"scapegoat" เป็นภาษาอังกฤษของคำว่า "แพะรับบาป" (และออกเสียงเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า "สเค๊ะ-โปะ-โก๊ะ-โตะ")

เรารู้กันดีว่า "แพะ" เป็นสัตว์ที่ถูกสังเวยเพื่อนำไปบูชายัญ

และเราได้รู้จักแพะดีขึ้นไปอีก หลังจากเมื่อดึกดื่นคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหนึ่งในกลุ่มนิติราษฎร์ ได้มานั่งเล่าถึงแนวคิดเรื่องแพะ และ "ปัญหากระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาแพะ" ในงาน "เทศกาลหนังแพะ" (Scapegoat Film Festival 2011) ซึ่งจัดโดย Cafe Mes Amis และสำนักพิมพ์หมูหลุม ภายใต้แสงไฟสลัวในคาเฟ่เล็กๆที่ชื่อ Cafe Mes Amis

เอาละ... ได้เวลามาฟังเรื่อง "แพะๆ" กันแล้ว


แนวคิดเรื่องแพะ

"แพะ มีในสังคมตะวันออกมานานแล้ว ส่วนตัวแล้วคิดว่าแพะเกิดขึ้นมาเพื่อ ′ความสบายใจของสังคม′ "


สาวตรีเริ่มเล่าถึงบทบาทของ "แพะ" ในความเห็นของเธอ

"คือในสังคมชนเผ่า เวลามีปัญหาอะไรขึ้นมาก็ต้องหาอะไรสักอย่างมารองรับ อย่างเวลาที่เกิดอาชญากรรมขึ้น เกิดการกระทำความผิดขึ้นในสังคม คนในสังคมก็จะรู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกถึงความไร้เสถียรภาพ ตราบใดที่กระบวนการยุติธรรมยังเอาใครสักคนหนึ่งขึ้นมาชี้หน้าแล้วบอกว่า ′คนนี้เป็นคนผิด′ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น แพะจึงเกิดขึ้นมาเพื่อให้สังคมเกิดความสบายใจ"

"จะสังเกตได้ว่าแพะที่เกิดขึ้นเป็นคนอีกชนชั้นหนึ่ง มันไม่มีทางที่แพะจะเป็นคนชนชั้นสูงไปได้ แพะต้องเป็นคนที่ไม่มีปากมีเสียง ไม่มีศักยภาพในการหาอะไรมาสู้ เพราะฉะนั้นมันก็สะท้อนอะไรหลายเรื่อง ว่าสังคมต้องการความปลอดภัย ความสบายใจ ในขณะเดียวกัน คนที่จะมารองรับความสบายใจนั้นได้ก็คือคนชนชั้นล่างที่จะต้องถูกลงโทษ"
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324205772&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น