นายวรเจตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการดังกล่าวควรใช้ชื่อว่า คณะกรรมการจัดทำรัฐธรรมนูญนิติรัฐและประชาธิปไตยมีจำนวน 25 คน แบ่งเป็น 20 คนมาจาก ส.ส. โดยพรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลต้องตกลงเรื่องการกำหนดสัดส่วนโควตาคณะกรรมการกัน เอง กรรมการอีก 5 คนจะมาจาก ส.ว. โดย 3 คน มาจากเลือกตั้งและ 2 คนมาจากสรรหา
"ในกระบวนการแก้ไข คณะกรรมการดังกล่าวต้องกำหนดกรอบและรับฟังความเห็นจากประชาชนแล้วจึงยกร่าง เพื่อสอบถามความคิดเห็นจากรัฐสภาก่อนที่จะนำกลับมาแก้ไข และสุดท้ายจึงนำไปทำประชามติ โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 9 เดือน" นายวรเจตน์กล่าว และว่า สาเหตุที่เสนอแนวทางดังกล่าวเพราะว่า คณะนิติราษฎร์ประมวลจากการชอบธรรมและประสิทธิภาพการร่างรัฐธรรมนูญที่ประเทศ ต่างๆ เคยใช้และเห็นว่าได้ผลดี
นายวรเจตน์กล่าวอีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูป สถาบันกษัตริย์ ศาล กองทัพ สถาบันการเมือง ให้สอดคล้องกับประชาธิปไตยและนิติรัฐ ซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทุกหมวดจะต้องสามารถแตะต้องได้ และถึงเวลาแล้วที่จะนำเรื่องนี้มาพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327231708&grpid=00&catid=&subcatid=
คลิป อภิปราย “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร" ของ คณะนิติราษฏร์ 22มค.55
อภิปราย “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร"
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี คณะ ร.ศ. ๑๓๐ และโอกาสเข้าสู่ปีที่ ๘๐ ของการอภิวัตน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เพื่อให้ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” คณะนิติราษฎร์ จัดเสวนาทางวิชาการขับเคลื่อนข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
• อภิปราย “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง”
• แนวคำถาม-คำตอบ เรื่อง “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙”
• “โต้” ปฏิกิริยาที่มีต่อข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ และเผยแพร่คู่มือลบล้างผลพวงรัฐประหาร
• ข้อเสนอวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ในวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป.
ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น