42 บริษัทฟ้องศาลปกครองระงับรัฐบาลขึ้นค่าแรง 300 บาท
ค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ ทันที (ค่ะ)
แรงงานไม่เห็นด้วยที่นายจ้างจะมาฟ้องร้องในช่วงนี้ เพราะแรงงานกำลังลำบาก เนื่องจากค่าครองชีพและราคาสินค้าแพงขึ้นมาก ถ้าศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการปรับขึ้นค่าจ้างไว้ก่อน ทางแรงงานก็จะไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลขอยกเลิกการคุ้มครองชั่วคราวระงับการปรับ ขึ้นค่าจ้างไว้ก่อน เนื่องจากเรื่องนี้เป็นมติของคณะกรรมการค่าจ้างกลางและออกประกาศเป็นกฎหมาย เรียบร้อยแล้ว
ชี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนปลัดกระทรวงแรงงานไม่รู้สึกหนักใจ เพราะการปรับค่่่าแรงทำตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานแล้ว ชี้หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว คนงานที่รอปรับค่าจ้างกว่า 5.4 ล้านคนจะได้รับผลระทบ
สำนักข่าวแห่งชาติ
รายงานเมื่อ 15 มี.ค. ว่า นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน
(รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวภายหลังเข้าชี้แจงศาลปกครอง
กรณีบริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัดกับพวก 42 คน
ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ในข้อหาการออกประกาศไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยเฉพาะมติให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีก 40% ทั่วประเทศ ส่งผลทำให้ใน
7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม
และ นนทบุรี ค่าจ้างเพิ่มเป็นวันละ 300 บาท ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ ว่า
ในวันนี้เป็นการไปเบิกความครั้งแรก
ซึ่งในฐานะประธานบอร์ดค่าจ้างก็ได้ชี้แจงว่าการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างเป็น
ไปตามมาตรา 87 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บริษัทที่ยื่นฟ้องศาจำนวน 42 บริษัทประกอบด้วย 1.บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 2.โรงงานพิพัฒน์เจริญ 3.บริษัท วังทองผลพืช จำกัด 4.บริษท พี.อี.เทคนิค จำกัด 5.บริษัท สตาร์โพลีเมอร์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด 6.บริษัท เคอร่าไทล์ เซรามิก จำกัด 7.บริษัท ธำมรงค์ จำกัด 8.บริษัท แอล แอนด์ อี แมนูแฟคเจอ จำกัด 9.บริษัท ไทยโตชิบา อุตสาหกรรม จำกัด 10.บริษัท ไทยคาเนตะ จำกัด
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/post/2012/03/29
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น