หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

จำลอง ดอกปิก : 5 เจ้าสำนักการเมือง สะท้อนปมปัญหา 237

จำลอง ดอกปิก : 5 เจ้าสำนักการเมือง สะท้อนปมปัญหา 237

 


 

ในขณะที่คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำลังพิจารณาแก้ไขมาตรา 291 เปิดทาง ส.ส.ร.เข้ามาดำเนินการยกร่างฉบับใหม่แทนสมาชิกรัฐสภา

ภาค ส่วนต่างๆ ก้าวหน้าไปถึงขั้นนำเสนอลงลึกถึงเนื้อหาที่คิดว่าควรแก้ไขแล้ว ณรงค์เดช สรุโฆษิต นักวิชาการผู้ติดตาม ศึกษารัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เป็นอีกคนที่สนับสนุนให้แก้ไข โดยใช้หลักการเปิดกว้างประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

นักวิชาการรายนี้มี ความเห็นต่อมาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองว่า แม้เห็นด้วยกับการลงโทษ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ที่กระทำผิดฐานทุจริตการเลือกตั้ง ทว่าการยุบพรรคการเมืองนั้นทิ้ง ย่อมไม่ยุติธรรมสำหรับ กก.บห.ที่มิได้มีส่วนรู้เห็นการกระทำความผิด

ไม่เช่นนั้นต่อไปจะมีแต่นอมินี และระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนอาจถึงขั้นล่มสลาย เพราะอยู่ไม่ได้หากไม่มีพรรคการเมือง

นี่ เป็นอีกมุมมองที่มองข้ามเรื่องการเมือง การใช้มาตรา 237 มาเป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมือง เพราะณรงค์เดชชี้เปรี้ยง เรื่องนี้เป็นปัญหาตัวบทบัญญัติโดยเฉพาะ

สดศรี สัตยธรรม กรรมการ กกต. เสนอแนวคิดเป็นหลักการแบบพบกันครึ่งทาง นั่นคือคงการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กก.บห. แต่ไม่ยุบพรรค
ที่ น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ ท่าทีอย่างไม่เป็นทางการจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยเงียบเฉย และถูกชี้หน้าว่าได้ประโยชน์จากการที่พรรคการเมืองคู่แข่งถูกยุบ ออกมา สนับสนุนให้แก้ไขมาตรา 237 เช่นกัน

 

(อ่านต่อ) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331979194&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น