หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศุกร์ 13 ประชา สยอง ? (ภาคจบ)

ศุกร์ 13 ประชา สยอง ? (ภาคจบ)

 

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ

http://www.facebook.com/verapat
 

ในบทความ ‘ภาคแรก’ “ ศุกร์ 13 เพื่อไทย สยอง ” ผู้เขียนได้ชวนคิดว่า (1) การที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาไต่สวนพยานเพียง ‘สองวัน’ และ ทำคำวินิจฉัยเพียง ‘วันเดียว’ นั้น ‘หยาบสั้น’ ไปหรือไม่ ?  (2) การแยกประเด็นพิจารณา มาตรา 291 ออกจาก มาตรา 68 ผิดตรรกะและส่อ ‘ตั้งธง’ หรือไม่ และ (3)  ‘แนวทางการตัดสิน’ ที่เป็นไปได้ 6 แนวทาง มีทางใดบ้าง ?  (อ่านย้อนหลังได้ที่ http://bit.ly/Suk-13

ใน ‘ภาคจบ’ จึงขอชวนเราเหล่าประชา คิดถึงปัญหาที่อาจต้องสยองกันต่อ ดังนี้



1. คำวินิจฉัย น่าจะออกมาในลักษณะใด?
แม้ ผู้เขียนจะเห็นว่า คดีนี้ได้หลุดเลยไปจาก ‘ปริมณฑลแห่งกฎหมาย’ ตั้งแต่วันที่ศาลมีมติรับคำร้องไปแล้ว  แต่ก็ยังหวังจะได้เห็นคำวินิจฉัยที่ยึดมาตรฐานเดียวกันกับที่ศาลชุดเดียว กันเคยตัดสินในสมัย ‘ประชาธิปัตย์’ 

กล่าวคือ ศาลสามารถ ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่าการยื่นคำร้อง ‘ผิดขั้นตอนอัยการสูงสุด’ ดังที่ศาลเคยอ้างเหตุ ‘ผิดขั้นตอน กกต.’  มายกคำร้อง คดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์’ (คำวินิจฉัยที่ 15/2553) อีกทั้งสามารถ ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า อำนาจหน้าที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ถูก ‘บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ’ ตามมาตรา 291 ศาลจึงไม่อาจนำมาตราอื่นมาวินิจฉัยปะปนกันได้ ดังที่ศาลเคยอธิบายไว้ใน คดีพรรคประชาธิปัตย์แก้รัฐธรรมนูญ (คำสั่งที่ 4/2554)   (อ่านได้ที่ http://bit.ly/VPCONS )

แต่หากศาลละทิ้งมาตรฐานแล้วฉวย มาตรา 68 มาวินิจฉัย ‘เนื้อหาหรือวิธีการ’ แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เสียแล้ว ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า แนวทางของคำวินิจฉัย ก็จะยังคงเป็นในลักษณะการ ‘ยกคำร้อง’ ด้วยปัจจัย ดังนี้

ปัจจัยที่ 1 : ฝ่ายผู้ร้อง สู้คดีโดยไม่มีน้ำหนัก
- พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม ได้หลุดปากยอมรับว่า ตนกำลัง ‘คาดการณ์-คาดคะเน’ และ ‘จินตนาการ’ ถึงการล้มล้างการปกครองฯ ไปตาม ‘บริบทสังคม’ ซึ่งฟังประหนึ่งก็วาดขึ้นเองตามอำเภอใจ แต่พอถูกถามว่า การล้มล้างการปกครองฯ ครั้งนี้ เหมือนต่างกับการล้มล้างรัฐประหารโดย คมช. ที่ตนเป็นหัวหน้าสำนักธุรการอย่างไร กลับอธิบายไม่ได้


- พรรคประชาธิปัตย์เอง ก็ได้แต่ยกคำปราศรัยของ คุณทักษิณ ชินวัตร และ แกนนำ นปช. นอกสภา เพื่อโยงว่าเป็นขบวนการเดียวกันกับการแก้ไข มาตรา 291 ในสภา ซึ่งแสดงว่า เมื่อไม่มีหลักฐานการล้มล้างการปกครองในสภา จึงต้องไปจินตนาการโยงกับกลุ่มบุคคลอื่นนอกสภาเสียเอง

- ผู้ร้องบางฝ่าย แม้จะเป็นนักกฎหมาย แต่ก็ถามนอกประเด็นจนถูกศาลตำหนิว่าถามมาแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร ยกคำถามที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น สิทธิทางแพ่ง-สิทธิทางอาญา หรือ มาตรา 212 ซึ่งศาลเคยวินิจฉัยไปหลายครั้งแล้วว่า นำมาอ้างต่อการกระทำไม่ได้
ฯลฯ

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41505

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น