หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ฝากคู่มือการทูตฉบับใหม่ให้ไปต้มกิน

ฝากคู่มือการทูตฉบับใหม่ให้ไปต้มกิน

 



อคติและเหตุผลส่วนตัวกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายคู่แข่งทางการ เมืองอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด สะท้อนให้เห็นจากกรณีที่นายสมเกียรติ อ่อนวิมลและนายประสงค์ สุ่นสิริ ได้ออกมาโจมตีรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้ตอบรับคำเชิญของนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ เพื่อให้เดินทางไปกัมพูชาและเข้าร่วมในการหารือทวิภาคีร่วมกัน โดยทั้งนายสมเกียรติและนายประสงค์มองว่า เป็นพฤติกรรมที่ผิดมารยาททางการทูต ให้อภัยไม่ได้ และทำให้ประเทศไทยต้องเสียภาพลักษณ์ในสายตาระหว่างประเทศ

ไม่น่าเชื่อว่า คำกล่าวหาเหล่านี้จะออกมาจากปากของบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่าง ประเทศ (มายาวนาน – นานเกินไปด้วยซ้ำ) และจากปากของคนที่อ้างว่าเป็นอาจารย์ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ผมไม่ขอวิจารณ์ในรายละเอียดสิ่งที่ทั้งสองท่านได้ออกมาโจมตีคุณยิ่ง ลักษณ์ แต่ขอใช้พื้นที่ตรงนี้ อธิบายหลักปฏิบัติทางการทูตเพื่อสร้างความกระจ่าง ในฐานะที่ผมเองเคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการทูต กระทรวงการต่างประเทศมาถึง 16 ปี เพื่อให้นักศึกษาที่สนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสาธารณชนทั่วไป ได้เข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดดีมากขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างที่ควรจะเป็น ที่ไม่ถูกบดบังด้วยอคติหรือความเกลียดชังส่วนตัว

หลักพิธีการการทูต หรือ protocol มาจากภาษากรีก มีความหมายว่า “the first glue” น่าจะแปลได้ว่า เป็นกลวิธีที่ใช้ในการเชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศให้มีความแนบแน่น หลักปฏิบัติทางการด้านทูตมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด ไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อก้าวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะการปฏิวัติทางด้านการสื่อสาร ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในปัจจุบัน การเขียนจดหมายเชิญระหว่างผู้นำสองประเทศอาจจะเป็นเรื่อง “เชย” ไปแล้วด้วยซ้ำ ผู้นำระหว่างประเทศสื่อสารโดยตรงเพียงแค่ยกหูโทรศัพท์ถึงกัน ก้าวข้ามผ่านกฏระเบียบที่จุกจิกและกินเวลา สมัยก่อน การทรวงต่างประเทศของไทยส่งข้อมูลถึงสถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศผ่านระบบ โทรเลข ต่อมาพัฒนาเป็นการส่งด้วยแฟกซ์ และในปัจจุบัน ก็ส่งด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรกนิกส์เป็นหลัก ชี้ให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนตัวเองของกระบวนการทางการทูตตลอดเวลา


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41510

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น