ระบบฟิวเดิลในยุโรป
โดย C. H.
ถ้าพ่อค้าคนไหนจากเมือง ไคโร หรือ คอร์โดบา
ซึ่งเป็นเมืองเจริญภายใต้อารยะธรรมอิสลาม
เดินทางไปค้าขายในยุโรปตะวันตกเมื่อ 1000 ปีมาแล้ว
เขาคงจะตกใจในความป่าเถื่อนล้าหลัง เพราะแถบนี้จะอยู่ภายใต้ระบบฟิวเดิล
ในระบบนี้พื้นที่เล็กๆ น้อยๆ
จะถูกปกครองโดยขุนนางขุนศึกที่บังคับแรงงานเกษตรกร ไม่มีรัฐรวมศูนย์
สังคมนี้เป็นสังคมหมู่บ้านชนบท ไม่มีการเขียนอ่านยกเว้นแต่ในโบสถ์
และคุณภาพชีวิตจะยากลำบาก
แม้แต่พวกขุนนางเอง ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ดีกว่าเกษตรกร มักจะเขียนอ่านไม่ได้ ใส่เสื้อผ้าหยาบๆ และพักอาศัยในป้อมปราสาทที่ก่อสร้างด้วยไม้แต่พวกพระคริสต์อ่านเขียนได้ ซึ่งช่วยให้เขาศึกษาเทคโนโลจีจากที่อื่นที่ถูกลืมไปในยุโรป
พวกพระเหล่านี้ต้องไปอ่านตำราอาหรับจากตะวันออกกลาง แต่ละพื้นที่จะไม่ค่อยติดต่อกับที่อื่น พึ่งตนเองในการผลิต และขุนนางขุนศึกจะบังคับให้เกษตรกร ซึ่งเป็น “ไพร่ติดที่ดิน” (serf) ทำงานฟรีเพื่อส่งผลผลิตเกินครึ่งหนึ่งให้ครอบครัวขุนนาง โดยที่เกษตรกรเหล่านั้นไม่มีสิทธิ์ย้ายออกจากพื้นที่เลย
ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบทาสที่เคยใช้ในยุคโรมัน เพราะอย่างน้อยไพร่ติดที่ดินสามารถเก็บผลผลิตส่วนหนึ่งให้ตนเอง ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ขยัน นอกจากนี้ไม่ต้องมีการทำสงครามเพื่อไปหาทาสใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะไพร่มีครอบครัวของตนเองได้
ไม่ว่าสังคมฟิวเดิลจะล้าหลังป่าเถื่อนแค่ไหน แต่มันไม่ได้แช่แข็งไร้การเปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด ในแง่หนึ่งความล้าหลังเป็นแรงกดดันให้คนหาทางพัฒนาการผลิตด้วยการเรียนรู้ จากอารยะธรรมตะวันออก แต่ความเจริญขยับไปข้างหน้าด้วยความเชื่องช้าเหมือนเต่าแก่ มีนักประวัติศาสตร์บางคนคำนวนว่าเศรษฐกิจยุคนั้นในปีที่ผลผลิตสูงสุดอาจขยาย ตัวปีละ 0.5 %
ความเจริญในระบบเกษตรที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ทำให้เริ่มมีการค้าขายมากขึ้น และศูนย์กลางการค้าขายดังกล่าวมักจะเป็นเมือง เมืองเหล่านี้ประกอบไปด้วยเสรีชน เช่นพ่อค้าหรือช่างฝีมือ และเมื่อคนเหล่านี้ต้องการกำลังงานเพิ่ม จะมีการดึงเกษตรกรมาเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้มีการสร้างกองกำลังประชาชนเพื่อปกป้องเมือง และในภาษาเยอรมันมีสุภาษิตว่า “อากาศเมืองทำให้คุณอิสระเสรี” เมืองจึงกลายเป็น “เกาะ” เสรีชนกลางทะเลฟิวเดิล ซึ่งเริ่มพัฒนาเป็นหน่ออ่อนของทุนนิยม
ความเจริญของเมืองนำไปสู่การพัฒนาทางปัญญา มีการสร้างมหาวิทยาลัย เช่นที่ออคซ์ฟอร์ด ปารีส และพราก มีการพัฒนาเทคโนโลจี เช่นกังหันน้ำที่ใช้ในโรงเหล็กและการทอผ้าเป็นต้น
แม้แต่พวกขุนนางเอง ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ดีกว่าเกษตรกร มักจะเขียนอ่านไม่ได้ ใส่เสื้อผ้าหยาบๆ และพักอาศัยในป้อมปราสาทที่ก่อสร้างด้วยไม้แต่พวกพระคริสต์อ่านเขียนได้ ซึ่งช่วยให้เขาศึกษาเทคโนโลจีจากที่อื่นที่ถูกลืมไปในยุโรป
พวกพระเหล่านี้ต้องไปอ่านตำราอาหรับจากตะวันออกกลาง แต่ละพื้นที่จะไม่ค่อยติดต่อกับที่อื่น พึ่งตนเองในการผลิต และขุนนางขุนศึกจะบังคับให้เกษตรกร ซึ่งเป็น “ไพร่ติดที่ดิน” (serf) ทำงานฟรีเพื่อส่งผลผลิตเกินครึ่งหนึ่งให้ครอบครัวขุนนาง โดยที่เกษตรกรเหล่านั้นไม่มีสิทธิ์ย้ายออกจากพื้นที่เลย
ระบบนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบทาสที่เคยใช้ในยุคโรมัน เพราะอย่างน้อยไพร่ติดที่ดินสามารถเก็บผลผลิตส่วนหนึ่งให้ตนเอง ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ขยัน นอกจากนี้ไม่ต้องมีการทำสงครามเพื่อไปหาทาสใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะไพร่มีครอบครัวของตนเองได้
ไม่ว่าสังคมฟิวเดิลจะล้าหลังป่าเถื่อนแค่ไหน แต่มันไม่ได้แช่แข็งไร้การเปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด ในแง่หนึ่งความล้าหลังเป็นแรงกดดันให้คนหาทางพัฒนาการผลิตด้วยการเรียนรู้ จากอารยะธรรมตะวันออก แต่ความเจริญขยับไปข้างหน้าด้วยความเชื่องช้าเหมือนเต่าแก่ มีนักประวัติศาสตร์บางคนคำนวนว่าเศรษฐกิจยุคนั้นในปีที่ผลผลิตสูงสุดอาจขยาย ตัวปีละ 0.5 %
ความเจริญในระบบเกษตรที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ทำให้เริ่มมีการค้าขายมากขึ้น และศูนย์กลางการค้าขายดังกล่าวมักจะเป็นเมือง เมืองเหล่านี้ประกอบไปด้วยเสรีชน เช่นพ่อค้าหรือช่างฝีมือ และเมื่อคนเหล่านี้ต้องการกำลังงานเพิ่ม จะมีการดึงเกษตรกรมาเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้มีการสร้างกองกำลังประชาชนเพื่อปกป้องเมือง และในภาษาเยอรมันมีสุภาษิตว่า “อากาศเมืองทำให้คุณอิสระเสรี” เมืองจึงกลายเป็น “เกาะ” เสรีชนกลางทะเลฟิวเดิล ซึ่งเริ่มพัฒนาเป็นหน่ออ่อนของทุนนิยม
ความเจริญของเมืองนำไปสู่การพัฒนาทางปัญญา มีการสร้างมหาวิทยาลัย เช่นที่ออคซ์ฟอร์ด ปารีส และพราก มีการพัฒนาเทคโนโลจี เช่นกังหันน้ำที่ใช้ในโรงเหล็กและการทอผ้าเป็นต้น
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/12/blog-post_7.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น