หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คนสั่งฆ่าประชาชนอาจไม่ใช่อภิสิทธิ์

คนสั่งฆ่าประชาชนอาจไม่ใช่อภิสิทธิ์
 




Pavin Chachavalpongpun

กรี๊ดดดดด อ่านเจอใน Straits Times.. ปวินบอกอภิสิทธิ์อาจเป็น "แพะ" เพราะคนสั่งฆ่าประชาชนอาจไม่ใช่อภิสิทธิ์

ฆาตกรสั่งฆ่าและร่วมกันฆ่าประชาชน คือไอ้ประยุทธ์(เหล่)และเหล่าสมุนทหารของมัน....



ทำไมเราต้องยกเลิกกองทัพไทยในรูปแบบปัจจุบัน 

ถึง แม้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเชื่อว่าจุดศูนย์กลางอำนาจอำมาตย์อยู่ที่ กษัตริย์และราชวงศ์ ในความเป็นจริงอำนาจแท้ที่อยู่เบื้องหลังกษัตริย์คือกองทัพ กองทัพไทยแทรกแซงการเมืองและสังคมมาตั้งแต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เพราะคณะราษฎร์พึ่งพาอาศัยอำนาจทหารในการทำการปฏิวัติครั้งนั้นมากเกินไป แทนที่จะเน้นการสร้างพรรคมวลชนเพื่อล้มระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 

อย่าลืมว่ากองทัพมีบทบาทสำคัญในองค์มนตรี สื่อมวลชน และรัฐวิสาหกิจอีกด้วย 

อย่าง ไรก็ตามเราควรเข้าใจว่าอำนาจทหารเป็นอำนาจจำกัด เพราะในหลายยุคหลายสมัยอำนาจกองทัพถูกจำกัดและคานด้วยการลุกฮือและการ เคลื่อนไหวของประชาชน ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม และกรณี ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖ และพฤษภา ๒๕๓๕ เป็นตัวอย่างที่ดี ดังนั้นเราควรเข้าใจว่ากองทัพเป็นกลุ่มอำนาจหนึ่งในชนชั้นปกครอง กลุ่มอื่นๆ ประกอบไปด้วย นายทุนใหญ่ นักการเมือง และข้าราชการชั้นสูง แต่สิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับกองทัพ ถ้าเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในชนชั้นปกครองหรืออำมาตย์คือ กองทัพจะผูกขาดการใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธสงคราม ซึ่งความรุนแรงนี้ใช้ในรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาลที่เป็นคู่แข่งของกลุ่มทหาร และใช้เพื่อฆ่าประชาชนมือเปล่า .... ล่าสุดก็ที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ในปี ๒๕๕๓ นี้เอง

วัตถุ ประสงค์หลักของการมีกองทัพสำหรับชนชั้นปกครองไทยคือ เป็นเครื่องมือในการควบคุมและปราบปรามประชาชนภายในประเทศ วัตถุประสงค์รองคือเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่ำรวยให้พวกนายพล ดังนั้นอย่าเชื่อเลยว่ากองทัพเป็น “รั้วของชาติ” มันไม่ใช่ มันเป็นกองโจรที่คอยปล้นประชาชนไทยเอง กองทัพไทยขาดประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิงในการทำสงครามระหว่างประเทศ สงครามกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศ ASEAN ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นทหารไทยจะเป็น รั้วพุที่ ป้องกันประเทศไม่ได้เลย ในอดีตกองทัพไทยต้องยอมแพ้ต่อญี่ปุ่น และมหาอำนาจอื่นๆ มาตลอด กองทัพไทยต่างจากกองทัพของเวียดนาม ลาว หรือของอินโดนีเซีย ที่เคยได้รับชัยชนะในการปลดแอกประเทศ ดังนั้นกองทัพไทยมีรถถังไว้เพื่อข่มขู่ประชาชนไทยและเพื่อทำรัฐประหารเท่า นั้น

ใน อดีตมีสองกรณีที่กองทัพไทยทำสงคราม แต่เป็นสงครามภายในอีก คือสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และสงครามปัจจุบันที่ยังไม่สิ้นสุดในสามจังหวัดภาคใต้ ในทั้งสองกรณีนี้กองทัพไม่สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ เพราะการลุกขึ้นสู้ของประชาชน เกิดจากการกดขี่และการที่ไม่มีความยุติธรรมในสังคม และทุกครั้งพฤติกรรมป่าเถื่อนของทหารไทย ยิ่งทำให้การกบฏของประชาชนเข้มแข็งมากขึ้น บทเรียนสำคัญจากสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์คือ ต้องใช้การเมืองแก้ปัญหา ไม่ใช่การทหาร ในกรณีสามจังหวัดภาคใต้ก็เช่กัน

กองทัพไทยอาจมีอำนาจก็จริง แต่อำนาจนั้นถูกจำกัดจากเงื่อนไขสามประการคือ (1) อำนาจของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่นคนเสื้อแดง (2) อำนาจของกลุ่มอื่นๆ ในชนชั้นปกครองที่มีอำนาจเงินและอำนาจการเมือง และ (3) การที่กองทัพแบ่งเป็นพรรคเป็นพวกที่แข่งขันกันเสมอ นอกจากนี้การที่กองทัพต้องอ้างความชอบธรรมจาก ลัทธิกษัตริย์ก็เป็นจุดอ่อนด้วย เพราะแสดงให้เห็นว่าไม่มีความชอบธรรมของตนเองเลยที่จะแทรกแซงการเมือง

แม้ แต่ในยุคเผด็จการ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือ ถนอม กิตติขจร กับ ประภาส จารุเสถียร ทหารไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เพราะต้องอาศัยความร่วมมือของ ผู้เชี่ยวชาญ และนายทุน และต้องฟังเสียงของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม อย่าลืมว่าในยุคแรกๆ แม้แต่ สฤษดิ์ เอง ยังต้องพึ่งพาขบวนการนักศึกษาและคนของพรรคคอมมิวนิสต์ในหนังสือพิมพ์ของเขา เพื่อทำรัฐประหารจนสำเร็จ ในกรณีรัฐประหาร ๑๙ กันยา ทหารคงทำรัฐประหารไม่ได้ถ้า พันธมิตรฯ นักวิชาการ และเอ็นจีโอเหลือง ไม่โบกมือเรียกทหารให้เข้ามาแทรกแซงการเมือง ตอนนั้นขบวนการคนเสื้อแดงยังไม่เกิด แต่พอเกิดขึ้น ทหารต้องใช้กลไกอื่นๆ เช่นศาล ในการล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน หรือใช้วิธีการแบบฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐบาล เพื่อปล่อยให้ม็อบพันธมิตรฯ ยึดสนามบินเป็นต้น

การ แบ่งเป็นพรรคเป็นพวกของทหารในกองทัพ เป็นการแย่งชิงผลประโยชน์กัน ไม่ค่อยเกี่ยวอะไรกับความคิดทางการเมือง ก๊กต่างๆ ของทหารมักจะเชื่อมกับทหารเกษียณ นายทุน และนักการเมือง กรณีล่าสุดคือกลุ่มทหาร บูรพาพยัคฆ์จาก ทหารราบที่สอง ปราจีนบุรี ซึ่งขึ้นมามีอำนาจชั่วคราว การที่เป็นทหารรักษาพระองค์ของราชินีไม่สำคัญ เพราะทุกส่วนของกองทัพมักอ้างการเชื่อมโยงกับวังอยู่แล้ว สำคัญว่าพร้อมจะเข่นฆ่าประชาชนเพื่อปกป้องเผด็จการมากกว่า กรณีทหารราบที่หนึ่งรักษาพระองค์ของภูมิพลหรือพวก แตงโมที่ ถล่มผู้บัญชาการทหารบูรพาพยัคฆ์ที่ราชดำเนิน เป็นการสู้กันระหว่างสองพวก ทหารแตงโมดังกล่าวไม่ได้ขึ้นกับขบวนการเสื้อแดง และในอดีตไม่เคยมีจิตใจประชาธิปไตย  

วัฒนธรรม ของกองทัพไทยคือวัฒนธรรมในการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนตำแหน่ง ตำแหน่งที่มีอำนาจมากที่สุดคือ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งต้องผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งนี้เพื่อให้นายพลต่างๆ มีโอกาสเข้าถึงรางอาหารในคอกเลี้ยงหมู ทหารคนใดคนหนึ่งไม่สามารถผูกขาดการกินและการเข้าถึงอำนาจและความร่ำรวยได้ ตลอดกาล

ความร่ำรวย ผิดปกติเกิน รายได้หรือเงินเดือนธรรมดาของพวกนายพล มาจากกิจกรรมของกองทัพในสื่อมวลชนและรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้มีรายได้มหาศาลจากการคอร์รับชั่น รับเงินใต้โต๊ะเวลาซื้ออาวุธ การค้ายาเสพติด การค้าไม้เถื่อน และการลักลอกขนสินค้าข้ามพรมแดน ทั้งหมดนี้เป็นแรงจูงใจให้ทหารรักษาอิทธิพลทางการเมือง เพื่อปกป้องกิจกรรมต่างๆ ของทหาร ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับการป้องกันประเทศ

แต่ การใช้ความรุนแรงอย่างเดียว ไม่สามารถสร้างอำนาจในการปกครองได้ ต้องมีการครองใจประชาชนควบคู่กันไป ลัทธิที่ครองใจประชาชนไทยในยุคสมัยใหม่มากที่สุดคือ ประชาธิปไตยและความเป็นธรรมแต่ทหารอ้างความชอบธรรมจากแนวคิดนี้ไม่ได้ เพราะทหารทำลายประชาธิปไตยและความเป็นธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทหารจึงต้องใช้ ลัทธิกษัตริย์โดย อ้างว่าทหารรับใช้กษัตริย์ แถมยังมีกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ไว้ข่มขู่คนที่คัดค้านทหารอีกด้วย ในความเป็นจริงทหารไม่ได้รับใช้ใครนอกจากตนเอง แต่กษัตริย์ภูมิพลพร้อมจะร่วมมือกับทหารเสมอ เพราะได้ผลประโยชน์มหาศาลตรงนั้น การเข้าเฝ้ากษัตริย์ของพวกนายพลหลังการทำรัฐประหาร เป็นเพียงละครที่สร้างภาพเท็จว่ากษัตริย์สั่งทหาร

ชาติ ศาสนา กษัตริย์คือ ลัทธิของอำมาตย์ชนชั้นปกครองตั้งแต่ยุคเผด็จการ สฤษดิ์ และก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ ในสมัย สฤษดิ์ ทหารได้พยายามลดบทบาททางการเมืองของศาสนาพุทธ ดังนั้นทหารใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือไม่ค่อยได้ ส่วนเรื่อง ชาติเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับ กษัตริย์ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ เพราะ ความเป็นชาติมี ลักษณะส่วนรวมมากกว่าที่จะไปเน้นตัวบุคคลของกษัตริย์ ผู้ที่เน้นลัทธิชาตินิยมในอดีต มักเป็นพวกที่ไม่เอากษัตริย์ด้วย เช่น คณะราษฎร์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นี่คือสาเหตุที่ลัทธิกษัตริย์เป็นลัทธิที่เหมาะสมมากกับทหารเผด็จการ

ลักษณะ การสั่งการและสายอำนาจในกองทัพ มีผลในการสร้างวัฒนธรรมเลวทรามไปทั่วองค์กร เพราะคนดีๆ ที่เข้าไปเป็นนายทหารหนุ่มต้านพลังของวัฒนธรรมนี้ไม่ได้ เราไม่ควรโทษเขา แต่เราจะโทษพวกนายพลระดับสูงมากกว่า

ถ้า เราจะมีประชาธิปไตยแท้ เราต้องตัดบทบาททหารออกจากสังคมและเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง ต้องตัดงบประมาณทหาร ต้องปลดนายพลเผด็จการออกให้หมด ต้องนำนายพลฆาตกรมาลงโทษ และต้องยกเลิกหรือไม่ก็เปลี่ยนโครงสร้างกองทัพอย่างถอนรากถอนโคน นอกจากนี้เราต้องยกเลิกสถาบันกษัตริย์ ให้มีระบบสาธารณรัฐแทน เพื่อไม่ให้ใครอ้างเทวดามาเพื่อทำลายสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยอีก 

ทหารไทยคือกาฝากของสังคม ในหมู่ชาวไร่ชาวนามันมีวิธีเดียวที่จะจัดการกับกาฝาก นั้นคือการตัดมันออกไปให้แห้งตาย 

ข้อคิดจากข่าวประชาไท เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย และองค์กรแนวร่วมแถลง ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 17 พ.ค.54  


“ถึง เวลาแล้วหรือยังที่ต้องปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจัง เช่น ห้ามกองทัพในการเข้ามาแทรกแซงการเมือง ลดงบประมาณทางการทหารเอาเงินส่วนนี้ไปจัดสวัสดิการให้กับประชาชนดีกว่า ให้ทหารออกจากเขตเมือง เพราะคงไม่มีความจำเป็นที่เราต้องมีรั้วของชาติมาอยู่กลางบ้าน เปลี่ยนพื้นที่ค่ายทหารดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในเมือง โอนหน้าที่ของที่ซ้ำซ้อนเปลืองงบประมาณแถมลำบากทหารเปล่าๆมาให้ประชาชน เช่น กิจกรรมสาธารณะภัยมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรอาสาสมัครหรือองค์กรของพลเรือนอื่นๆ ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร โอนสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของกองทัพให้แก่รัฐสภาหรือหน่วยงานอื่นที่มีที่มา จากประชาชน เป็นต้น”

(ที่มา)  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น